วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล

เทคโนโลยีการจับันทึกข้อมูล

            การปฏิบัติงานของทุก ๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม  ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทำอย่างไรจึงจะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และครอบคลุมตามความต้องการของผู้ที่จะข้อมูล ทำอย่างไรจึงจะสามารถบริหารจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารได้ตรงตามที่ต้องการ  ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ได้เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดการกับข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน สามารถเข้าไปใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะมีการกำหนดสิทธิในการใช้งาน ( Authentication )  ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและมีความเป็นปัจจุบัน ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์กรมากขึ้น แต่การขยายตัวของปริมาณข้อมูลที่มีอัตราสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อต้องการจะเพิ่มพื้นที่ (Capacity) ให้กับเซิร์ฟเวอร์เดิมที่มีอยู่ จะสามารถทำได้ในปริมาณมากที่สุด (Maximum Capacity) ที่เซิร์ฟเวอร์รุ่น                นั้น ๆ สามารถรองรับได้ และหากไฟล์ที่ต้องการจะแชร์ข้อมูล (Data Sharing) เป็นไฟล์ที่อยู่คนละระบบปฏิบัติ (Operation System) หรือคนละแพลตฟอร์ม Plat form) ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการที่ใช้       ย่อมเกิดปัญหาที่จะต้องหาเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่มาเพิ่ม เพราะเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวสามารถจะรองรับการทำงานของระบบปฎิบัติการได้เพียงระบบเดียวเท่านั้นในเวลาหนึ่ง ๆ



การขยายตัวทำให้เกิดความซับซ้อนสำหรับการดูแลและจัดการไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Serve) ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับความยุ่งยากและซับซ้อน




            Network Attached Storage เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักในคำว่า NAS”  ซึ่งช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี กล่าวคือเป็นการนำเอาความคิดรวบยอดในการยุบ (Consolidate) ไฟล์เซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัวรวมกันเป็นจุดเดียว ทำให้ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทำงานน้อยลง เพราะดูแลเพียง NAS จุดเดียว
                               
                                               Network Attached Storage (NAS)


            NAS เป็นการต่อ Storage ผ่าน IP Network ที่องค์กรทั่วไปมีอยู่แล้ว เช่น WAN  LAN  ซึ่งเหมาะกับข้อมูลประเภท Filebase I/O ที่ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ แต่การอ่านเขียนไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา  เมื่อใช้ IP Network มีลักษณะเป็น Share Network  ในการใช้ NAS จะมีข้อดีคือสนับสนุน File System ทั้ง CIFS (Windows) และ NFS (Unix) ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวาง และไม่เสียค่า Client Access License จึงเป็นที่นิยมขององค์กรต่าง ๆ เพราะใช้แทน File Server ทั่ว ๆ ไปได้เป็นอย่างดี

            อุปกรณ์ NAS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1. อุปกรณ์ NAS ที่ใช้ประโยชน์จากโพรโตคอล Network Data Management Protocol (NDMP) จากผู้ค้าอย่าง Network Appliance, EMC และ Procom อุปกรณ์ NAS เหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากโพรโตคอล NDMP เพื่อทำการแบคอัพ และโอนถ่ายข้อมูลกลับคืน โพรโตคอล NDMP จัดเป็นวิธีการง่ายๆ และรวดเร็วสำหรับซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่จะทำการโอนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์ NAS ไปยังเทปไดรฟ์ ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ NAS โดยตรง การใช้โพรโตคอล NDMP ทำการสำรองข้อมูลนั้นทำให้ไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายข้อมูลที่ทำการสำรองจากอุปกรณ์ NAS ไปยังเซิร์ฟเวอร์สำรองข้อมูลผ่านทางเครือข่าย TCP/IP อีกต่อไป วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการแบกอัพผ่านเครือข่าย โดยทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อออปชัน NAS (NAS OPTION) ในโซลูชันด้านการสำรองข้อมูล 
       2. อุปกรณ์ NAS ที่ประยุกต์การใช้งานแบบวินโดวส์จากผู้ค้าอย่าง HP, Dell, IBM และ IomegaNAS มีการพัฒนาบนพื้นฐานของเคอร์แนลแบบยูนิกซ์ สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบ Network ได้ทุกรูปแบบ ซึ่งสามารถสำรองข้อมูลสำรอลแบบโลคอลได้  จึงไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายข้อมูลสำรองผ่านเครือข่าย TCP/IP อีกทำให้การสำรองข้อมูลมีประสิทธิภาพได้เพิ่มสูงขึ้น
                   
รูปการเชื่อมต่ออุปกรณ์ NAS Appliance เข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก
การเลือกใช้อุปกรณ์ NAS จะต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1.        อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องรองรับโพรโตคอล DHCP โดยไม่ต้องติดตั้งหน้าจอคอลโซลเพื่อเข้าไปปรับแต่งค่าทางด้าน Network ของอุปกรณ์ แต่เป็นเพียงการเปิดเครื่องและเชื่อมต่อเข้ากับ Network ที่มีอยู่ เพื่อเรียกหา IP Address และค่าอื่น ๆ ที่จำเป็นจากเซิร์ฟเวอร์ DHCP ได้ทันที
2.        อุปกรณ์จะต้องสนับสนุน Protocol ต่าง ๆ เช่น CIFS (Common Internet File System) , FTP , HTTP , NF (Network File System) เพื่อจได้ไม่ต้องเข้าไปจัดการมาก ควรเป็นเพียงเลือกใช้หรอยกเลิกการใช้งาน  Protocal ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมก็พอ
3.        อุปกรณ์จะต้องมี Interface และ Port การเชื่อมต่อให้เลือกได้หลายรูปแบบหลายช่องทาง เช่น Port แบบ 10/100 มี Ethernet อย่างน้อย 2 Port เป็นมาตรฐาน
4.        อุปกรณ์จะต้องกำหนดผู้ใช้/กลุ่มผู้ใช้ได้ โดยการเรียกข้อมูลของ User และ Group ของ User เพื่อกำหนดสิทธิการใช้งาน
5.        จะต้องมี Web Interface สำหรับการจัดการและปรับแต่งค่าคอนฟิกูเรชั่นต่าง  ๆ ของอุปกรณ์ โดยไม่ต้องมีการติดตั้ง Software เป็นเพียงเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ เพื่อให้จัดการได้ทันที


          ภาพตัวอย่างของอุปกรณ์ NAS
                         Seagate Barracuda ES750GB




                                              NS4300N
            แนวโน้มในอนาคตจะมีการรวมกันของ SAN-NAS (สตอเรจ แอเรีย เน็ตเวิร์กซึ่งเป็นระบบสำรองข้อมูลขนาดใหญ่-เน็ตเวิร์ก แอตแทช สตอเรจ ที่เป็นระบบสำรองข้อมูลขนาดที่ต่อกับเน็ตเวิร์กเดิม) การรวมกันของ 2 ระบบนี้ จะเรียกว่าฟาบลิก แอตแทช สตอเรจ (FAS) ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายนี้จะเพิ่มมากขึ้น (จากข้อมูลรายงานของไอดีซีระบุว่า สัดส่วนของFAS ในปี 2003 เพิ่มขึ้นเป็น 81% จากปี 2002 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 56% ส่วนที่เหลือเป็นไดเรกต์แอตแทช สตอเรจ (DAS) ซึ่งเป็นสตอเรจที่ต่อตรงเข้ากับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์


ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลได้มีพัฒนาการจากเซิร์ฟเวอร์ ไปสู่ระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล โดยจะมีประสิทธิภาพและการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศมีด้วยกันสามส่วนอันได้แก่ คอมพิวเตอร์, ระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆได้มีการพัฒนาในสองส่วนแรกอย่างมากและได้ทิ้งให้ เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลล้าหลังอย่างเห็นได้ชัด ถ้าพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลก็จะหมายความถึงอุปกรณ์ ฮาร์ดดิสค์, เทปบันทึกข้อมูล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลในแบบอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการ พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง, มีความจุสูงขึ้นและมีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง แต่ปัจจุบันนี้องค์กรส่วนใหญ่ที่ได้นำเอา เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบการเพิ่มฮาร์ดดิสค์เข้าไปในเซิร์ฟเวอร์ ได้เริ่มมองเห็นแล้วว่าไม่สามารถรอง รับการเติบโตและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ได้มีการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายซึ่งการจัดการด้านข้อมูล และระบบจัดเก็บเป็นเรื่องสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจดัวนั้น หลายต่อหลายบริษัทได้เริ่มที่จะให้ความสนใจเกี่ยวกับโซลูชันด้านการจัดเก็บข้อมูลมากยิ่งขึ้น
วิถีในการจัดการด้านระบบจัดเก็บข้อมูล ได้มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน เมื่อเทียบกับองค์ประกอบสองส่วนแรกของ โครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสมัยใหม่ ได้ทำให้การจัดเก็บข้อมูลก้าว ไปสู่ยุคใหม่ของระบบเครือข่ายที่ทันสมัย ผมขอกล่าวถึงแนวโน้มต่างๆ ที่จะมีส่วนในการส่งเสริมการใช้งานและความ ก้าวหน้าของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลอาทิเช่น
  • ปริมาณข้อมูลขององค์กรที่ต้องจัดเก็บเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกๆ 6-12 เดือน
  • ความต้องการของพนักงาน, คู่ค้า รวมถึงลูกค้าที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็วซึ่งสามารถแปลงเป็น ประโยชน์ต่อองค์กรในรูปแบบของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, ความพึงพอใจของลูกค้า และเป็นการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และคู่ค้าขององค์กร
  • ความปรารถนาของหลายองค์กรที่ต้องการควบคุม Total Cost of Ownership สำหรับโครงการด้านไอทีและ ต้องการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างระบบเครือข่ายที่มีอยู่
  • ความต้องการในการเตรียมตัวสำหรับการก้าวสู่ธุรกิจ ที่มีการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต มาใช้รวมถึงการกู้ข้อมูลจากความเสียหาย แม้ว่าบางส่วนของโครงสร้างระบบสารสนเทศจะหยุดทำงานไป และในบางกรณียัง รวมไปถึงการสร้างสำเนาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญสูง
  • ความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูลจะเติบโตต่อไป ตราบเท่าที่บริษัทมีการสร้าง และเก็บฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
จากเหตุการณ์ 11 กันยายน เมื่อปีที่แล้วได้เน้นย้ำว่า การจัดเก็บข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการ ทำธุรกิจทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการสะสมและจัดเก็บข้อมูลของบริษัทเป็นสำคัญ ตลอดจนช่วงเวลาสำหรับการสำรองข้อมูล ก็สั้นมากจนแทบจะเป็นไปแบบนาทีต่อนาที
การพัฒนาด้านระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลจะช่วยให้บริษัทที่มีฐานข้อมูลมากๆ สามารถทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำหรับฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, และฝ่ายบริการลูกค้าโดยพวกเขาสามารถเห็นภาพรวม ของการทำงานขององค์กรได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากฐานข้อมูลของแต่ละแผนก ที่เมื่อก่อนแยกกันเก็บรักษา ทั้งนี้จากการที่มีการจัดเก็บข้อมูลในระบบเดียว จะช่วยให้การบำรุงรักษาง่ายขึ้น
เป้าหมายของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลก็คือ ความสามารถในการรวมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลายชนิดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสค์, แบ๊กอัพเทป ฯลฯ การทำเช่นนี้ทำให้บริษัทสามารถจัดการแหล่งข้อมูลต่างๆ จากส่วนกลางได้ ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลทุกชิ้นได้มีการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนข้อมูลสำคัญของบริษัท ได้ถูกจัดเก็บไว้ในหลายสถานที่อย่างปลอดภัย และทั้งหมดนี้จะรองรับด้วยระบบความปลอดภัยรวมของเครือข่ายอีกชั้นหนึ่ง จึงรับประกันได้ว่าธุรกิจของท่าน จะไม่หยุดชะงักแม้ในยามที่เกิดวิกฤตการณ์ที่เหนือความคาดหมาย
ในยุคของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลนี้ ความชาญฉลาดของการจัดเก็บข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบเครือข่ายเป็นสำคัญ องค์กรหลายๆ แห่งได้ปรับเปลี่ยนจากที่ใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง (Direct Attached Storage, DAS) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ต่อตรงเข้ากับเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว และนอกจากนี้โซลูชันชนิดนี้ยังมีราคาแพง และยากต่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรเริ่มที่จะหันมามองโซลูชันด้านระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถรวมฐานข้อมูลที่อยู่แยกจากกัน ให้มาอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ในอันที่จะลดต้นทุนในการบำรุงรักษา และขยายความสามารถในการสำรองข้อมูล ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้อีกด้วย
ในปัจจุบันหลายองค์กรได้มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสำหรับการจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า Storage Area Network หรือ SAN แต่ข้อเสียก็คือยังคงเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่แยกออกมาเดี่ยวๆ เพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเท่านั้นเอง โดยข้อดีของ SAN คือมีการเชื่อมต่อผ่านสายใยแก้วนำแสง จึงสามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และไม่นานมานี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตก็ได้เข้ามาช่วยให้ระบบ SAN มีความสามารถดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยี IP Storage อย่างเช่น iSCSI ซึ่งได้เข้ามาแก้จุดด้อยของระบบ SAN ที่แต่เดิมทำงานในรูปแบบที่แยกเป็นเอกเทศนั้น สามารถเชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวในองค์กรได้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่แห่งใด ซึ่งความสามารถนี้ช่วยให้ องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานข้อมูลของตนได้อย่างมาก และนอกจากนี้ iSCSI ยังช่วยให้องค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กสามารถใช้งานการจัดเก็บข้อมูลแบบไอพี- เบส ได้โดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำกว่าการทำระบบ SAN ที่ส่งผ่านช่องสัญญาณใยแก้วนำแสง (pure fiber-channel SAN)
เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลมีส่วนอย่างมาก สำหรับเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการที่มีการสำรองข้อมูลไว้นอกสำนักงาน ทำให้บริษัทมีการเก็บรักษาข้อมูลไว้สองแห่ง ทั้งนี้ถ้าระบบใดระบบหนึ่งเกิดขัดข้องก็สามารถสลับไป ใช้งานอีกที่หนึ่งและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในอดีตที่ผ่านมา การทำเช่นนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เราสามารถต่อเชื่อมระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถของ สตอเรส เราเตอร์ซึ่งถูกพัฒนามาใช้ในการเชื่อมต่อ SAN เข้าด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น