วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการแสดงผลเสียง

เทคโนโลยีการแสดงผลเสียง

ประเภทของเสียง

ประเภทของเสียง  เสียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ MIDI และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้  
    1.MIDI ( มิดี้) ย่อมาจากคำว่า Musical Instrument Digital Interface ถ้าแปลตรงๆ ก็คือ การเชื่อมต่อของเครื่องดนตรี   ในระบบดิจิดอล  MIDI คือระบบการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีต่างๆ ทั้งชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ทั้งยี่ห้อเดียวกันหรือต่างยี่ห้อกัน และยังรวมมาถึงจากคอมพิวเตอร์ กับเครื่องดนตรีด้วย MIDI เกิดขึ้นโดยบรรดานักดนตรีก็เกิดความต้องการที่จะเล่นเสียงของ เครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นพร้อมๆ กันขึ้นมา ซึ่งพวกเขาได้ทำปรับเสียงของคีย์บอร์ดหลายๆ ตัวเอาไว้ ตัวละเสียง แต่พวกเขา ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้หมด ในบางครั้งนักดนตรีต้องการเล่นเสียงของเครื่องเป่า 5 ชิ้นพร้อมๆ กันในโน็ตตัวเดียวกัน ( unison ) เพื่อทำให้เสียง หนา ขึ้น  แต่ก็สุดปัญญาที่จะเล่น เครื่องดนตรี5 ชิ้นพร้อมกันเนื่องมีมือแค่สองมือ และมีเพียงสองเท้าเท่านั้น  นักดนตรีจึงต้องการ ความช่วยเหลือ จากระบบควบคุมเครื่องดนตรีทั้งหมดซึ่ง เชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์
       ดังนั้น นักดนตรีทั้งหลายจึงต้องการอุปกรณ์ที่จะช่วยเชี่อมต่อเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยที่จะต้องไม่ขึ้นกับว่าเป็น เคริองดนตรีชนิดเดียวกันหรือมาจากบริษัทเดียว กันหรือไม่  และมาตรฐานนี้จะต้องสามารถใช้ควบคุมเครื่อง ดนตรีที่เป็น Electronic ทุกชนิดต่อไปในอนาคตด้วย
     มาตรฐานของ MIDI  จึงได้ถูกตั้งขึ้นมาโดยการร่วมมือกันของบรรดา บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรี เพื่อต้องการสร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อ เครื่องดนตรีหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงยี่ห้อ  หรือ รุ่น MIDI จึงเป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสื่อสารด้านเสียง ที่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.1980  สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  โดยในมุมมองของนักดนตรี  MIDI คือโน้ตเพลงที่มีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่จะบอกให้รู้ว่าต้องเล่นโน้ตตัวใดในเวลานาน เท่าไรเพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี 
      ดนตรีแบบ MIDI จะไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆดังนั้นเครื่องมือในการเล่นเพลงแบบ MIDI จะมีผลต่อคุณภาพเสียงที่ได้ 
     ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการสร้างและปรับแต่งเสียงMIDIให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น
เครื่องดนตรีแบบ MIDI
Keyboard
ความสำคัญอย่างหนึ่งของ MIDI คือ
    สามารถใช้งานร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบดนตรีซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์จะพาไปสู่มิติอื่นอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด และสามารถเก็บเพลงลงในคอมพิวเตอร์ได้ทันที และเรียกส่วนนั้นมาใช้งานได้ทุกเวลา 
    -ถ้ารู้วิธีเขียนตัวโน้ต เราก็สามารถผลิตผลงานเพลงด้วยตัวเองโดยถูกต้องและแจกจ่ายเพลง ให้กับคนอื่น ๆ ได้ ข้อดี ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูล MIDI ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้อยทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง
    ข้อเสีย แสดงผลเฉพาะดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน้ตดนตรีเท่านั้น และอุปกรณ์อิเล็กกทรอนิกส์ที่ใช้สร้างมีราคาค่อนข้างสูง  
2.เสียงแบบดิจิตอล (Digital Audio) 
         สัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟน เครื่องสังเคราะห์เสียง เครื่องเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิต และไบต์ โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มา เรียกว่า “ Sampling Rate ” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงที่ได้จากการเล่นเสียงแบบดิจิตอล 
         เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรบนหน่วยประมวลผลกลางมากกว่า  MIDI  แต่จะแสดงผลได้หลากหลาย และเป็นธรรมชาติกว่า MIDI มาก 
         เสียงแบบดิจิตอลที่พบบ่อย จะอยู่ช่วงความถี่ 44.1 kHz , 22.05 kHz และ 11.023 kHz ซึ่งมี Sampling Size เป็น 8 บิต และ 16 บิต โดยที่ Sampling Rate และ Sampling Size ที่สูงกว่าจะให้คุณภาพของเสียงที่ดีกว่า และจะต้องมีเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์สำหรับรองรับอย่างเหมาะสม

Sampling Rate (kHz)
Sampling Size (bit)
Stereo หรือ Mono
จำนวน Byte ที่ใช้ 1 วินาที
44.1
16
Stereo
8.5 MB
44.1
16
Mono
5.25 MB
44.1
8
Stereo
5.25 MB
44.1
8
Mono
2.6 MB
22.05
16
Stereo
5.25 MB
22.05
16
Mono
2.5 MB
22.05
8
Stereo
2.6 MB
22.05
8
Mono
1.3 MB
11.025
8
Stereo
1.3 MB
11.025
8
Mono
650 KB

การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล (Preparing Digital Audio File) 



                แฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลจะมีการจัดเก็บอย่างตรงไปตรงมากล่าวคือไม่ว่าจะบันทึกเสียง จากแหล่งกำเนิดเสียงชนิดใด แฟ้มข้อมูลก็จะทำการบันทึกเป็นสื่อดิจิตอลเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งในแต่ละครั้งจะต้องบันทึกข้อมูลเสียงจากอุปกรณ์เพียงชนิดเดียว เช่น บันทึกเสียงจากเครื่องเล่นเทปหรือไมโครโฟน เป็นต้ โดยจะใช้ซอฟตืแวร์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเสียงที่ต้องการ 
                หลักสำคัญในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลคือ 
           • จะต้องเตรียม RAM และทรัพยากรบนฮาร์ดดิสรองรับให้เหมาะสมกับคุณภาพเสียงที่ ต้องการ 
           • ปรับระดับของการบันทึกเสียงให้ตรงกับคุณภาพที่ต้องการและมีมาตรการป้องกันเสียงรบกวนที่ดี
 ขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพ (File Size Versus Quality) 
                จากที่เคยกล่าวมาแล้วว่าอัตรา Sampling Rate ยิ่งสูงความถูกต้องของข้อมูลเสียงที่ทำการ บันทึกจะสูงตามไปด้วย เรียกว่า “ความละเอียดของเสียง” (Audio Resolution) นั่นหมายถึงว่า หากต้องการคุณภาพเสียงดีเท่าไรขนาดของแฟ้มข้อมูลก็จะใหญ่ขึ้นตามไปด้วย 
                การบันทึกเสียงแบบสเตริโอ (StereoRecording) จะให้คุณภาพของเสียงที่ฟังแล้วสมจริงมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการบันทึกเสียงแบบโมโน (Mono Recording) กับการบันทึกเสียงแบบสเตริโอโดยใช้ ระยะเวลาในการบันทึกเท่ากัน แฟ้มข้อมูลเสียงแบบสเตริโอที่บันทึกได้จะใช้พื้นที่มากกว่าแฟ้มข้อมูลเสียง แบบโมโน ซึ่งการคำนวณขนาดของแฟ้มข้อมูลที่ได้จากการบันทึกทั้งสองแบบมีดังนี้

       การบันทึกเสียงแบบโมโน
Sampling Rate x ระยะเวลาในการบันทึก x (Sampling Size/8) x 1
การบันทึกเสียงแบบสเตริโอ
Sampling Rate x ระยะเวลาในการบันทึก x (Sampling Size/8) x 2
               เช่นทำการบันทึกเสียงแบบโมโนนาน 10 วินาที ที่ Sampling Rate 22.05 kHz, Sampling Size 8 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ 
22050 x 10 x 8/8 x 1 = 220,500 byte หรือทำการบันทึกเสียงแบบสเตริโอ 10 วินาที ที่ Sampling Rate 44.1 kHz, Sampling Size 16 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ 44100 x 10 x 16/8 x 2 = 1,764,000 byte หรือทำการบันทึกเสียงแบบโมโน 40 วินาที ที่ Sampling Rate 11 kHz, Sampling Size 8 บิต จะได้ขนาดของแฟ้มข้อมูล 440,000 ไบต์ เป็นต้น 
 การปรับระดับในการบันทึกเสียง (Setting Proper Recording Levels) 
                หากไม่สามารถควบคุมการนำสัญญาณเสียงเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาอาจจะได้เสียงที่ไม่มีคุณภาพหรือ มีสัญญาณรบกวนปนเข้ามาในเสียงที่ทำการบันทึก ทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้จากการบันทึกอยู่ในระดับต่ำ ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งาน 
                ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับการบันทึกและแก้ไขเสียงแบบดิจิตอล จะต้องมีมาตรวัดระดับเสียงสำหรับควบคุมความดัง ของเสียงที่เรียกว่า “ดิจิตอลมิเตอร์” (Digital Meter)
              ดังนั้นการบันทึกเสียงพร้อมกับควบคุมไม่ให้เกินระดับเสียงที่กำหนดด้วยดิจิตอลมิเตอร์ จะเป็นวิธีการป้องกันความผิดพลาด ได้อีกวิธีหนึ่งนั่นเอง 
                ดิจิตอลมิเตอร์จะมีขีดกำหนดบอกความดังสูงสุดที่สามารถบันทึกได้ในการบันทึก ไม่ควรให้ความดังของเสียงเกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้ บนดิจิตอลมิเตอร์ และจะต้องควบคุมความดังของเสียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขีดจำกัดที่กำหนดเสมอ ระดับความดังที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างค่า -10 ถึง -3
ซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีเสียง

ชื่อโปรแกรม
คำอธิบาย
Winamp
โปรแกรมสำหรับใช้เล่นและแก้ไขปัญหาการเล่น Mp2 
และ Mp3 พร้อมทั้งสามารถแก้ไขเสียงได้อย่างละเอียด
Amazing MIDI
เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Wave File เป็น MIDI File
Cool Edit
สามารถลดเสียงรบกวนและปรับแต่ง Wave file ด้วยโปรแกรม Cool Edit Professional
Windows Media 
Player  7.0
โปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง สามารถเล่นไฟล์ MPEG-1, MPEG-2, WAV, AVI, MIDI, Mp3
Media Center  1.2
โปรแกรมสำหรับเล่น Multimedia สามารถเล่นวิดีโอ เสียง และรูปภาพได้
Quick Time  4.1
โปรแกรมเสริมสำหรับการดูหนังฟังเพลงจาก Net 
สามารถเล่น Mp3 ได้
Super DVD Player
โปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง
Xing PEG
สามารถใช้เล่นกับไฟล์ในตระกูล MPEG ได้ทุกชนิด
Karaoke
เป็นโปรแกรมสำหรับเล่นและร้องเพลงคาราโอเกะ บนเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ได้
MpegPlayer
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง และสามารถจับภาพหนังที่กำลังชมอยู่ได้

การรวมเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมีเดีย
การจะใช้มัลติมีเดียต้องมั่นใจว่าเมื่อใส่เสียงประกอบไปกับมัลติมีเดียจะทำให้มัลติมีเดียที่ออกแบบมี คุณภาพมากขึ้น การพิจารณาขนาดความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน 
    ทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
- ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอและเสียงพูด เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย
- ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบ MIDI หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่
- พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งาน จึงจะเหมาะสม
-นำข้อมูลเสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับมัลติมีเดียที่ทำการผลิต
-ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอออกไปมีความสัมพันธ์กับภาพในมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น
                     


เทคโนโลยีเสียงในปัจจุบันและอนาคต

สุดยอดแห่งดีไซน์ลำโพงใหม่ ที่ให้คุณฟังเพลงโปรดและดูไฟล์วีดีโอจากเครื่องเล่น iPod ได้ด้วยพลังเสียงก้องกระหึ่ม


             สุดยอดแห่งดีไซน์ลำโพงใหม่ ที่ให้คุณฟังเพลงโปรดและดูไฟล์วีดีโอจากเครื่องเล่น iPod ได้ด้วยพลังเสียงก้องกระหึ่ม  สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการดูหนังและฟังเพลงอย่างสมบูรณ์แบบ

Philips DC910 มาพร้อมกับลำโพงคู่เทคโนโลยี wOOx ให้พลังเสียงเบสที่ดีเยี่ยมด้วยการตรวจจับแล้วขยายสัญญาณเสียงเบสความถี่ต่ำ เพื่อเสียงเบสที่ทุ้มลึกเต็มไปด้วย เทคโนโลยีเสียง Dynamic Bass Boost (DBB) เพื่อเสียงทุ้มที่นุ่มลึกยิ่งขึ้น และระบบเสียง Digital Sound Control 4 โหมด ที่สามารถปรับแต่งโทนเสียงแบบดิจิตอล (Optimal, Classic, Jazz, Rock) ตามประเภทของเพลงได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีกำลังขับ 30 W RMSทำให้เต็มอิ่มกับการสัมผัสพลังเสียงชัดใสได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Philips DC910 ยังใช้งานง่าย นอกจากจะสามารถเชื่อมต่อกับ ipod แล้ว คุณยังสามารถมีความสุขกับเสียงดนตรี MP3/WMA ผ่านช่องต่อ USB สามารถตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ และรับฟังรายการวิทยุจากคลื่นสถานีFM ได้อีกด้วย



iHome iP4 ลำโพงสเตอริโอคลาสสิก
iHome iP4 ลำโพงสเตอริโอคลาสสิก จะทำให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงด้วยเทคโนโลยีเสียงแบบ SRS TruBass รูปทรงคล้ายเครื่องเล่นวิทยุ ตัวเครื่องมีขนาด 17.81 x 9.06 x 4.96 นิ้ว มาพร้อมสายสะพายสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหน รองรับการใช้งานกับ iPhone และ iPod


อาร์ทีบี เทคโนโลยี เปิดตัว ลำโพงบลูทูธ Beats 
“Beats Pill™” จากแบรนด์ Beats By Dr.Dre  ที่โดดเด่นด้วยเสียงคุณภาพสูง พร้อมรองรับการส่งสัญญาณได้ถึง 30 ฟุต ด้วยดีไซน์ใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร น้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา มาพร้อมความสะดวกสบายที่ให้คุณสามารถสั่งการด้วยรีโมทคอนโทรลและมีปุ่มกดเพื่อเพิ่มและลดเสียงได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ “Beats Pill™” ยังถูกออกแบบให้แยกลำโพงออกจากกันถึง 4 ตัว เพื่อให้คุณได้สัมผัสถึงคุณภาพสียงที่คมชัดและทรงพลัง สามารถรองรับการคุยโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีไมโครโฟนในตัวจึงทำให้คุณไม่พลาดทุกการติดต่อ โดยตัวเครื่องรองรับการใช้งานแบบไร้สายผ่านบลูทูธ(Bluetooth) หรือสามารถเชื่อมต่อผ่านช่องต่อแบบ 3.5 มม.ที่อยู่ด้านหลังลำโพงได้อีกด้วย อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบ NFC ได้เป็นอย่างดี


 ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 รวบรวมเครื่องเล่นดีวีดี แอมพลิไฟร์ ลำโพง ภาครับวิทยุ และภาคแปลงสัญญาณเสียงเซอร์ราวด์ อยู่ภายในแถบตัวเครื่องที่มีขนาดความหนาเพียงแค่ 5 นิ้ว และด้วยเทคนิคการวางลำโพงเล็กๆในมุมองศาต่างๆอย่างถูกต้อง ภายในแถบลำโพงตัวเครื่องและประสิทธิภาพของซับวูฟเฟอร์ ผสานเข้ากับเทคโนโลยีการประมวลผลด้านเสียงที่ให้เสียงเซอร์ราวด์ ทำให้เกิดเป็นเสียงเซอร์ราวด์แบบ 5.1 ช่องเสียงที่ทรงพลัง กระจายไปโอบล้อมรอบตัวคุณอย่างทั่วถึงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดของห้องก็ตาม ทำให้ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 แตกต่างจากชุดโฮมเธียเตอร์เดิมๆที่ต้องใช้ลำโพงหลายตัววางรอบห้องเพื่อทำให้เกิดเสียงเซอร์ราวด์ 

      ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 ประกอบด้วยลำโพงขับเสียงซอฟต์โดมทวีตเตอร์ 2 ยูนิต ฟูลเรนจ์ไดร์เวอร์ทำหน้าที่ขับเสียงกลางต่ำขนาด 2.5 นิ้ว 6 ยูนิต ค่าความต้านทานโอห์มรวม 6 โอห์ม ซับวูฟเฟอร์แบบแอ๊กทีฟขนาดไดร์เวอร์ 6 นิ้วครึ่ง ค่าความต้านทาน 4 โอห์ม และสนองตอบความถี่ต่ำได้ 30-120Hz 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น