วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีการแสดงผลเสียง

เทคโนโลยีการแสดงผลเสียง

ประเภทของเสียง

ประเภทของเสียง  เสียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ MIDI และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้  
    1.MIDI ( มิดี้) ย่อมาจากคำว่า Musical Instrument Digital Interface ถ้าแปลตรงๆ ก็คือ การเชื่อมต่อของเครื่องดนตรี   ในระบบดิจิดอล  MIDI คือระบบการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีต่างๆ ทั้งชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน ทั้งยี่ห้อเดียวกันหรือต่างยี่ห้อกัน และยังรวมมาถึงจากคอมพิวเตอร์ กับเครื่องดนตรีด้วย MIDI เกิดขึ้นโดยบรรดานักดนตรีก็เกิดความต้องการที่จะเล่นเสียงของ เครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นพร้อมๆ กันขึ้นมา ซึ่งพวกเขาได้ทำปรับเสียงของคีย์บอร์ดหลายๆ ตัวเอาไว้ ตัวละเสียง แต่พวกเขา ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้หมด ในบางครั้งนักดนตรีต้องการเล่นเสียงของเครื่องเป่า 5 ชิ้นพร้อมๆ กันในโน็ตตัวเดียวกัน ( unison ) เพื่อทำให้เสียง หนา ขึ้น  แต่ก็สุดปัญญาที่จะเล่น เครื่องดนตรี5 ชิ้นพร้อมกันเนื่องมีมือแค่สองมือ และมีเพียงสองเท้าเท่านั้น  นักดนตรีจึงต้องการ ความช่วยเหลือ จากระบบควบคุมเครื่องดนตรีทั้งหมดซึ่ง เชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์
       ดังนั้น นักดนตรีทั้งหลายจึงต้องการอุปกรณ์ที่จะช่วยเชี่อมต่อเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยที่จะต้องไม่ขึ้นกับว่าเป็น เคริองดนตรีชนิดเดียวกันหรือมาจากบริษัทเดียว กันหรือไม่  และมาตรฐานนี้จะต้องสามารถใช้ควบคุมเครื่อง ดนตรีที่เป็น Electronic ทุกชนิดต่อไปในอนาคตด้วย
     มาตรฐานของ MIDI  จึงได้ถูกตั้งขึ้นมาโดยการร่วมมือกันของบรรดา บริษัทผู้ผลิตเครื่องดนตรี เพื่อต้องการสร้างมาตรฐานในการเชื่อมต่อ เครื่องดนตรีหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงยี่ห้อ  หรือ รุ่น MIDI จึงเป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานในการสื่อสารด้านเสียง ที่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.1980  สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์  โดยในมุมมองของนักดนตรี  MIDI คือโน้ตเพลงที่มีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่จะบอกให้รู้ว่าต้องเล่นโน้ตตัวใดในเวลานาน เท่าไรเพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี 
      ดนตรีแบบ MIDI จะไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆดังนั้นเครื่องมือในการเล่นเพลงแบบ MIDI จะมีผลต่อคุณภาพเสียงที่ได้ 
     ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการสร้างและปรับแต่งเสียงMIDIให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น
เครื่องดนตรีแบบ MIDI
Keyboard
ความสำคัญอย่างหนึ่งของ MIDI คือ
    สามารถใช้งานร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ที่มีระบบดนตรีซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์จะพาไปสู่มิติอื่นอย่างไม่มี ที่สิ้นสุด และสามารถเก็บเพลงลงในคอมพิวเตอร์ได้ทันที และเรียกส่วนนั้นมาใช้งานได้ทุกเวลา 
    -ถ้ารู้วิธีเขียนตัวโน้ต เราก็สามารถผลิตผลงานเพลงด้วยตัวเองโดยถูกต้องและแจกจ่ายเพลง ให้กับคนอื่น ๆ ได้ ข้อดี ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูล MIDI ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้อยทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง
    ข้อเสีย แสดงผลเฉพาะดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน้ตดนตรีเท่านั้น และอุปกรณ์อิเล็กกทรอนิกส์ที่ใช้สร้างมีราคาค่อนข้างสูง  
2.เสียงแบบดิจิตอล (Digital Audio) 
         สัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟน เครื่องสังเคราะห์เสียง เครื่องเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิต และไบต์ โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มา เรียกว่า “ Sampling Rate ” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงที่ได้จากการเล่นเสียงแบบดิจิตอล 
         เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรบนหน่วยประมวลผลกลางมากกว่า  MIDI  แต่จะแสดงผลได้หลากหลาย และเป็นธรรมชาติกว่า MIDI มาก 
         เสียงแบบดิจิตอลที่พบบ่อย จะอยู่ช่วงความถี่ 44.1 kHz , 22.05 kHz และ 11.023 kHz ซึ่งมี Sampling Size เป็น 8 บิต และ 16 บิต โดยที่ Sampling Rate และ Sampling Size ที่สูงกว่าจะให้คุณภาพของเสียงที่ดีกว่า และจะต้องมีเนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์สำหรับรองรับอย่างเหมาะสม

Sampling Rate (kHz)
Sampling Size (bit)
Stereo หรือ Mono
จำนวน Byte ที่ใช้ 1 วินาที
44.1
16
Stereo
8.5 MB
44.1
16
Mono
5.25 MB
44.1
8
Stereo
5.25 MB
44.1
8
Mono
2.6 MB
22.05
16
Stereo
5.25 MB
22.05
16
Mono
2.5 MB
22.05
8
Stereo
2.6 MB
22.05
8
Mono
1.3 MB
11.025
8
Stereo
1.3 MB
11.025
8
Mono
650 KB

การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอล (Preparing Digital Audio File) 



                แฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลจะมีการจัดเก็บอย่างตรงไปตรงมากล่าวคือไม่ว่าจะบันทึกเสียง จากแหล่งกำเนิดเสียงชนิดใด แฟ้มข้อมูลก็จะทำการบันทึกเป็นสื่อดิจิตอลเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ซึ่งในแต่ละครั้งจะต้องบันทึกข้อมูลเสียงจากอุปกรณ์เพียงชนิดเดียว เช่น บันทึกเสียงจากเครื่องเล่นเทปหรือไมโครโฟน เป็นต้ โดยจะใช้ซอฟตืแวร์ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลเสียงที่ต้องการ 
                หลักสำคัญในการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลเสียงแบบดิจิตอลคือ 
           • จะต้องเตรียม RAM และทรัพยากรบนฮาร์ดดิสรองรับให้เหมาะสมกับคุณภาพเสียงที่ ต้องการ 
           • ปรับระดับของการบันทึกเสียงให้ตรงกับคุณภาพที่ต้องการและมีมาตรการป้องกันเสียงรบกวนที่ดี
 ขนาดของแฟ้มข้อมูลกับคุณภาพ (File Size Versus Quality) 
                จากที่เคยกล่าวมาแล้วว่าอัตรา Sampling Rate ยิ่งสูงความถูกต้องของข้อมูลเสียงที่ทำการ บันทึกจะสูงตามไปด้วย เรียกว่า “ความละเอียดของเสียง” (Audio Resolution) นั่นหมายถึงว่า หากต้องการคุณภาพเสียงดีเท่าไรขนาดของแฟ้มข้อมูลก็จะใหญ่ขึ้นตามไปด้วย 
                การบันทึกเสียงแบบสเตริโอ (StereoRecording) จะให้คุณภาพของเสียงที่ฟังแล้วสมจริงมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบการบันทึกเสียงแบบโมโน (Mono Recording) กับการบันทึกเสียงแบบสเตริโอโดยใช้ ระยะเวลาในการบันทึกเท่ากัน แฟ้มข้อมูลเสียงแบบสเตริโอที่บันทึกได้จะใช้พื้นที่มากกว่าแฟ้มข้อมูลเสียง แบบโมโน ซึ่งการคำนวณขนาดของแฟ้มข้อมูลที่ได้จากการบันทึกทั้งสองแบบมีดังนี้

       การบันทึกเสียงแบบโมโน
Sampling Rate x ระยะเวลาในการบันทึก x (Sampling Size/8) x 1
การบันทึกเสียงแบบสเตริโอ
Sampling Rate x ระยะเวลาในการบันทึก x (Sampling Size/8) x 2
               เช่นทำการบันทึกเสียงแบบโมโนนาน 10 วินาที ที่ Sampling Rate 22.05 kHz, Sampling Size 8 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ 
22050 x 10 x 8/8 x 1 = 220,500 byte หรือทำการบันทึกเสียงแบบสเตริโอ 10 วินาที ที่ Sampling Rate 44.1 kHz, Sampling Size 16 บิต จะคำนวณได้ดังนี้ 44100 x 10 x 16/8 x 2 = 1,764,000 byte หรือทำการบันทึกเสียงแบบโมโน 40 วินาที ที่ Sampling Rate 11 kHz, Sampling Size 8 บิต จะได้ขนาดของแฟ้มข้อมูล 440,000 ไบต์ เป็นต้น 
 การปรับระดับในการบันทึกเสียง (Setting Proper Recording Levels) 
                หากไม่สามารถควบคุมการนำสัญญาณเสียงเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาอาจจะได้เสียงที่ไม่มีคุณภาพหรือ มีสัญญาณรบกวนปนเข้ามาในเสียงที่ทำการบันทึก ทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้จากการบันทึกอยู่ในระดับต่ำ ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้งาน 
                ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมสำหรับการบันทึกและแก้ไขเสียงแบบดิจิตอล จะต้องมีมาตรวัดระดับเสียงสำหรับควบคุมความดัง ของเสียงที่เรียกว่า “ดิจิตอลมิเตอร์” (Digital Meter)
              ดังนั้นการบันทึกเสียงพร้อมกับควบคุมไม่ให้เกินระดับเสียงที่กำหนดด้วยดิจิตอลมิเตอร์ จะเป็นวิธีการป้องกันความผิดพลาด ได้อีกวิธีหนึ่งนั่นเอง 
                ดิจิตอลมิเตอร์จะมีขีดกำหนดบอกความดังสูงสุดที่สามารถบันทึกได้ในการบันทึก ไม่ควรให้ความดังของเสียงเกินขีดจำกัดที่กำหนดไว้ บนดิจิตอลมิเตอร์ และจะต้องควบคุมความดังของเสียงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขีดจำกัดที่กำหนดเสมอ ระดับความดังที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่างค่า -10 ถึง -3
ซอฟต์แวร์สำหรับเทคโนโลยีเสียง

ชื่อโปรแกรม
คำอธิบาย
Winamp
โปรแกรมสำหรับใช้เล่นและแก้ไขปัญหาการเล่น Mp2 
และ Mp3 พร้อมทั้งสามารถแก้ไขเสียงได้อย่างละเอียด
Amazing MIDI
เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Wave File เป็น MIDI File
Cool Edit
สามารถลดเสียงรบกวนและปรับแต่ง Wave file ด้วยโปรแกรม Cool Edit Professional
Windows Media 
Player  7.0
โปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง สามารถเล่นไฟล์ MPEG-1, MPEG-2, WAV, AVI, MIDI, Mp3
Media Center  1.2
โปรแกรมสำหรับเล่น Multimedia สามารถเล่นวิดีโอ เสียง และรูปภาพได้
Quick Time  4.1
โปรแกรมเสริมสำหรับการดูหนังฟังเพลงจาก Net 
สามารถเล่น Mp3 ได้
Super DVD Player
โปรแกรมสำหรับดูหนังฟังเพลง
Xing PEG
สามารถใช้เล่นกับไฟล์ในตระกูล MPEG ได้ทุกชนิด
Karaoke
เป็นโปรแกรมสำหรับเล่นและร้องเพลงคาราโอเกะ บนเครื่อง 
คอมพิวเตอร์ได้
MpegPlayer
เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับดูหนัง ฟังเพลง และสามารถจับภาพหนังที่กำลังชมอยู่ได้

การรวมเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมีเดีย
การจะใช้มัลติมีเดียต้องมั่นใจว่าเมื่อใส่เสียงประกอบไปกับมัลติมีเดียจะทำให้มัลติมีเดียที่ออกแบบมี คุณภาพมากขึ้น การพิจารณาขนาดความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน 
    ทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ 
- ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอและเสียงพูด เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย
- ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบ MIDI หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่
- พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งาน จึงจะเหมาะสม
-นำข้อมูลเสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับมัลติมีเดียที่ทำการผลิต
-ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอออกไปมีความสัมพันธ์กับภาพในมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น
                     


เทคโนโลยีเสียงในปัจจุบันและอนาคต

สุดยอดแห่งดีไซน์ลำโพงใหม่ ที่ให้คุณฟังเพลงโปรดและดูไฟล์วีดีโอจากเครื่องเล่น iPod ได้ด้วยพลังเสียงก้องกระหึ่ม


             สุดยอดแห่งดีไซน์ลำโพงใหม่ ที่ให้คุณฟังเพลงโปรดและดูไฟล์วีดีโอจากเครื่องเล่น iPod ได้ด้วยพลังเสียงก้องกระหึ่ม  สนุกสนานและเพลิดเพลินไปกับการดูหนังและฟังเพลงอย่างสมบูรณ์แบบ

Philips DC910 มาพร้อมกับลำโพงคู่เทคโนโลยี wOOx ให้พลังเสียงเบสที่ดีเยี่ยมด้วยการตรวจจับแล้วขยายสัญญาณเสียงเบสความถี่ต่ำ เพื่อเสียงเบสที่ทุ้มลึกเต็มไปด้วย เทคโนโลยีเสียง Dynamic Bass Boost (DBB) เพื่อเสียงทุ้มที่นุ่มลึกยิ่งขึ้น และระบบเสียง Digital Sound Control 4 โหมด ที่สามารถปรับแต่งโทนเสียงแบบดิจิตอล (Optimal, Classic, Jazz, Rock) ตามประเภทของเพลงได้อย่างสมบูรณ์แบบ มีกำลังขับ 30 W RMSทำให้เต็มอิ่มกับการสัมผัสพลังเสียงชัดใสได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Philips DC910 ยังใช้งานง่าย นอกจากจะสามารถเชื่อมต่อกับ ipod แล้ว คุณยังสามารถมีความสุขกับเสียงดนตรี MP3/WMA ผ่านช่องต่อ USB สามารถตั้งเวลาเปิดเครื่องอัตโนมัติ และรับฟังรายการวิทยุจากคลื่นสถานีFM ได้อีกด้วย



iHome iP4 ลำโพงสเตอริโอคลาสสิก
iHome iP4 ลำโพงสเตอริโอคลาสสิก จะทำให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงด้วยเทคโนโลยีเสียงแบบ SRS TruBass รูปทรงคล้ายเครื่องเล่นวิทยุ ตัวเครื่องมีขนาด 17.81 x 9.06 x 4.96 นิ้ว มาพร้อมสายสะพายสะดวกในการพกพาไปไหนมาไหน รองรับการใช้งานกับ iPhone และ iPod


อาร์ทีบี เทคโนโลยี เปิดตัว ลำโพงบลูทูธ Beats 
“Beats Pill™” จากแบรนด์ Beats By Dr.Dre  ที่โดดเด่นด้วยเสียงคุณภาพสูง พร้อมรองรับการส่งสัญญาณได้ถึง 30 ฟุต ด้วยดีไซน์ใหม่ไม่ซ้ำแบบใคร น้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา มาพร้อมความสะดวกสบายที่ให้คุณสามารถสั่งการด้วยรีโมทคอนโทรลและมีปุ่มกดเพื่อเพิ่มและลดเสียงได้ตามต้องการ

นอกจากนี้ “Beats Pill™” ยังถูกออกแบบให้แยกลำโพงออกจากกันถึง 4 ตัว เพื่อให้คุณได้สัมผัสถึงคุณภาพสียงที่คมชัดและทรงพลัง สามารถรองรับการคุยโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดีเนื่องจากมีไมโครโฟนในตัวจึงทำให้คุณไม่พลาดทุกการติดต่อ โดยตัวเครื่องรองรับการใช้งานแบบไร้สายผ่านบลูทูธ(Bluetooth) หรือสามารถเชื่อมต่อผ่านช่องต่อแบบ 3.5 มม.ที่อยู่ด้านหลังลำโพงได้อีกด้วย อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบ NFC ได้เป็นอย่างดี


 ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 รวบรวมเครื่องเล่นดีวีดี แอมพลิไฟร์ ลำโพง ภาครับวิทยุ และภาคแปลงสัญญาณเสียงเซอร์ราวด์ อยู่ภายในแถบตัวเครื่องที่มีขนาดความหนาเพียงแค่ 5 นิ้ว และด้วยเทคนิคการวางลำโพงเล็กๆในมุมองศาต่างๆอย่างถูกต้อง ภายในแถบลำโพงตัวเครื่องและประสิทธิภาพของซับวูฟเฟอร์ ผสานเข้ากับเทคโนโลยีการประมวลผลด้านเสียงที่ให้เสียงเซอร์ราวด์ ทำให้เกิดเป็นเสียงเซอร์ราวด์แบบ 5.1 ช่องเสียงที่ทรงพลัง กระจายไปโอบล้อมรอบตัวคุณอย่างทั่วถึงไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดของห้องก็ตาม ทำให้ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 แตกต่างจากชุดโฮมเธียเตอร์เดิมๆที่ต้องใช้ลำโพงหลายตัววางรอบห้องเพื่อทำให้เกิดเสียงเซอร์ราวด์ 

      ชุดโฮมเธียเตอร์ Philips Ambisound HTS8140 ประกอบด้วยลำโพงขับเสียงซอฟต์โดมทวีตเตอร์ 2 ยูนิต ฟูลเรนจ์ไดร์เวอร์ทำหน้าที่ขับเสียงกลางต่ำขนาด 2.5 นิ้ว 6 ยูนิต ค่าความต้านทานโอห์มรวม 6 โอห์ม ซับวูฟเฟอร์แบบแอ๊กทีฟขนาดไดร์เวอร์ 6 นิ้วครึ่ง ค่าความต้านทาน 4 โอห์ม และสนองตอบความถี่ต่ำได้ 30-120Hz 

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีจอภาพแสดงผล


เทคโนโลยีจอภาพแสดงผล
จอภาพ LCD และ CRT
       เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก การใช้เครื่องมือต่างๆ ในชีวิตประจำวันเกี่ยวข้องกับการแสดงผลเพื่อที่จะให้ข้อมูลข่าวสารปรากฎแก่สายตาของผู้ใช้พัฒนาการของจอภาพจึงต้องพัฒนาตามอย่างต่อเนื่อง 
 
        คอมพิวเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่ขึ้นกับการแสดงผล ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต้องติดต่อกับเครื่องผ่านทางเป้นพิมพ์และ แสดงผลออกมาทางจอภาพและการแสดงผลนั้นก็ได้รับการพัฒนาจากหลอดภาพ CRT และแผงแสดง LCD
        CRT มีการใช้กันอย่างกว้างขวางเพราะเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนามานาน CRT เป็นจอภาพที่ใช้กับโทรทัศน์และ พัฒนาต่อให้ใช้กับจอภาพของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้มีการผลิตจอภาพหลายสิบล้านเครื่องต่อปี หากพิจารณาที่เเทคโนโลยีการแสดงผล โดยพิจารณาหลักการของการใช้แสงเพื่อสร้างงาน เราสามารถแบ่งแยกหลักการออกเป็น 2 ประเภท :-
  • การให้แหล่งกำเนิดแสงแสดงภาพและตัวอักษรดยตรง
    หลักการนี้ใช้ในจอภาพ CRT ซึ่งอาศัยลำอิเล็กตรอนกระทบกับสารเรืองแสงที่ติดอยู่กับจอภาพ สารเรืองแสงจะเปล่งแสงออกมาใมห้ตามองเห็น
  • การใช้แสงที่มีอยู่แล้วให้เกืดคุณค่า
    โดยการใช้หลักการสะท้าน หรือสร้างสิ่งแวดว้อมให้ส่องทะลุ กล่าวคือ ปิดเปิดลำแสงที่มีอยู่แล้วด้วยการ ให้ส่องทะลบุผ่านหรือกั้นไว้ หรือสะท้อน เป็นลักษณะของเทคโนโลยี LCD ( Liquid Crystal ) แผงแสดงผลึกเหลว

        อย่างไรก็ดี การแสดงผลบนจอภาพส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี CRT เพราะ CRT มีราคาถูกกว่า มีการพัฒนามานาน มีการผลิตในขั้นอุตสาหกรรมมาก มีความทนทาน เชื่อถือได้ CRT จึงเป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มต้น
        สำหรับ LCD นั้นได้เริ่มนำมาใช้ในจอแสดงผลในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแลปท็อป แบบโน๊ตบุ้ค แบบพาล์มท็อป การแสดงผลของ LCD มีลักษณะแบบแบนราบ น้ำหนักเบา กินไฟน้อย
พัฒนาการของ LCD
        LCD มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มจากการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกาดิจิตอล หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อเนื่องเพื่อรองรับความต้องการที่มีมากขึ้น เทคโนโลยี LCD เป็นเทคโนโลยีที่มียุคสมัย และแบ่งยุคได้ตามการพัฒนาเป็นขั้นๆเหมือนยุคของคอมพิวเตอร์
    • ยุคแรก สร้างฐานของเทคโนโลยี
      ในยุคนี้เป็นยุคที่เริ่มต้นของการพัฒนา LCD เทคนิควิธีการที่ใช้เป็นแบบ DMS ( Dynamic Seattering Method )และ TN ( Twisted Nematic ) ข้อเด่นของเทคโนโลยีนี้คือ ใช้กำลังงานไฟฟ้าต่ำ ใช้แรงดันต่ำ เหมาะสมที่จะใช้งานกับเทคโนโลยี CMOS จึงนำมาประยุกต์ใช้ในเครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯลฯ
    • ยุคที่สอง ยุคขยายฐาน
      การประยุกต์ใช้งาน LCD เริ่มกว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบTNโดยพัฒนาให้แผงแสดง มีลักษณะบางและ กระทัดรัดและเริ่มใช้ตัวสะท้อนให้มีสี การประยุกต์ใช้งานส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของเครื่องคิดเลข นาฬิกา ฯลฯ
    • ยุคที่สาม ยุคกระจาย
      ในยุคนี้มีการผลิตแพร่หลาย มีการตั้งโรงงานการผลิต LCD กระจายขึ้นทั่วโลก เทคโนโลยีที่ใช้เป็นแบบ TN และ GH ( Guest Host ) ข้อเด่นที่ได้ในยุคนี้ก็คือ LCD มีความเชื่อถือสูง มีความคงทน มีความเข้มคมชัด ีความเร็วในการตอบสนองต่อสัญญาณ ไฟฟ้าได้เร็ว การขยายการใช้งานจึงกว้างขวางขึ้นมาก มีการประยุคใช้ในกล้องถ่ายรูปรถยนต์แผงแสดงของจอคอมพิวเตอร์เกม และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ การก้าวเข้าสู่รถยนต์ก็เพราะว่าสามารถลดอุปกรณ์การวัดที่ต้องอาศัยกลไกมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้มาก การแสดงผลเป็นแบบพาสซีฟจึงไม่สามารถสร้างความเครียดให้กับสายตา
    • ยุคที่สี่ ยุคท้าทายที่จะแทน CRT
      การใช้งานกว้างขวางและมีตลาดรองรับอยู่มาก เทคโนโลยีที่ก้าวเข้ามาในยุคนี้คือ การใช้ TFT หรือ Thin Film Transistor เพื่อสร้างจอภาพแสดงผลแบบแอคตีฟ ข้อดีคือ สามารถมัลติเพล็กซ์สัญญาณการแสดงผลได้เร็วทำให้จอภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาถูกลง แสดงสีได้เหมือนนนธรรมชาติ การประยุกต์ใช้งานจึงเน้นจำพวกโทรทัศน์จอแบน จอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องมือวัด เกม ฯลฯ

ความแตกต่างระหว่าง LCD กับ CRT
        LCD เป็นแผงแสดงผลที่แตกต่างจาก CRT ตรงที่ตัว LCD ไม่ได้เปล่งแสงออกมา แต่ใช้หลักการควบคุมแสง จึงมีข้อเด่นมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับ CRT
        จุดเด่นของ LCD จึงแสดงผลได้แม้ในสิ่งแวดล้อมที่มีแสงจ้าหรือ กลาง แจ้ง การมองเห็นทำได้อย่างชัดเจนไม่จางเหมือนอุปกรณ์ ที่ กำเนิดแสงเช่น CRT หรือ LED LCE ใช้กำลังไฟฟ้าต่ำมากโดยทั่วไปใช้กำลังไฟฟ้าเพียง 1 -10 MicroWatt per Cm ใช้แรงดันไฟฟ้าขับที่แรงดันต่ำ จึงใช้วงจร CMOS ที่ทำงานเพียง 3 Volt ก็สามารถขับ LCD ได้จึงใช้ในวงจรรคอมพิวเตอร์หรือ วงจรดิจิตอลทั่วไปได้ แหล่งจ่ายไฟสำหรับ LCD ใช้แหล่งเดียวและะแรงดันไฟฟ้าระดับเดียว จึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนในการใช้งาน 
        การแสดงผลของ LCD มีความคมชัด ไม่มีการกระพริบหรือภาพสั่นไหวไม่สร้างสัญญาณเสียงรบกวน มีขนาดกกะทัดรัด น้ำหนักเบา แบนราบ ขนาดแสดงผลมีขนาดเหมาะสมกับการประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ ผู้ออกแบบการแสดงผลทำได้ตามต้องการ ด้วยเทคโนโลยี LCD แสดงผลในลักษณะหลายสี เหมือนจอ CRT ได้ การเชื่อมต่อไม่ต้องมีกลไกจึงทำให้ออกแบบประยุกต์ได้ง่าย      
หลักการเบื้องต้นของ LCD
        สารผลึกเหลวที่ใช้ใน LCD นั้นเป็นสารสังเคราะห์ที่จัดได้ว่าเป็นสารใหม่ที่พัฒนากันมาเมื่อไม่นานนี้ คำว่าผลึกเหลว ( Liquid Crystal ) หมายถึง สารที่อยู่ระหว่างของแข็งกับของเหลว ปกติสารทั่วไปเมื่อเป็นของแข็งที่อุณหภูมิหนึ่งครั้นได้รับอุณหภูมิสูงขึ้นก็จะหลอมละลายเป็นของเหลว แต่สำหรับผลึกเหลวนี้มีคุณสมบัติพิเศษคือมีช่วงอุณหภูมิที่กว้างสำหรับสถานะที่อยู่ระหว่าง ของแข็งกับของเหลว
        ผลึกเหลวจึงแตกต่างจากวัสดุทั่วไปที่มีจุดหลอมเหลวที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว หรือแม้แต่พลาสติกก็จะเริ่มอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อนจนหลอมละลาย แต่สำหรับผลึกเหลวมีลักษณะพิเศษ ชนิดของผลึกเหลวแยกตามโครงสร้างโมเลกุลเช่น แบบเนมาติก ( nematic ) แบบสเมติก ( smetic ) แบบคอเลสเตริก
        สำหรับหลักการทำงานของมันนั้น ปรากฏการณ์ของผลึกเหลวเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะพิเศษสารอื่นๆ ในสถานะปกติ เมื่อยังไม่มีแรงดันไฟฟ้าป้อนให้ โมเลกุลของผลึกเหลววางตัวเป็นเกลียวในแนวคอลัมน์ แต่เมื่อ้อนแรงดันไฟฟ้าให้กับผลึกเหลว โครงสร้างโมเลกุลจะกระจักกระจายอย่างสุ่มดังภาพ
 
        โครงสร้างผลึกที่จัดตัวเป็นเกลียวจะทำให้แสงผ่านทะลุลงไปได้ แต่เมื่อมีสนามไฟฟ้า ผลึกจะกระจัดกระจาย แสงจึงผ่านไปไม่ได้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดลักษณะการแสดงผลเป็นแบบขาวดำ

อัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ
 
          เปรียบเทียบอัตราส่วนการแสดงผลของจอภาพมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการแสดงผลแบบ HDTV ( High Definition Television ) ซึ่งการแสดงผลของภาพในปัจจุบันกำลังพัฒนาไปสู่การแสดงผลของภาพที่ให้ความคมชัดสูงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำให้การแสดงผลของจอภาพรองรับมาตรฐานแบบ Full HD
 
จากรูป..เป็นการเปรียบเทียบการแสดงผล สำหรับจอภาพ ตามมาตรฐานต่างๆ ที่เรารู้จัก...
       - Full HD (High Definition) 1920 x 1080
       - HD (High Definition) 1280x720
       - PC XGA (Extended Graphics Array) 1024x768
       - SD (Standard Definition) PAL TV 768x576
       - SD (Standard Definition) NTSC TV 720x480
       - CIF (Common Intermediate Format) 352x288
       - QCIF (Quarter Common Intermediate Format) 176x144
 
      ซึ่งแต่ละระบบ มีความแตกต่างกันของขนาดภาพ มันเกี่ยวข้องกับการบันทึกภาพวิดีโอ หรือการนำไปตัดต่อภาพวิดีโอด้วย เช่น การส่งภาพข่าวของผู้สื่อข่าว บมจ.อสมท ในขณะนี้ใช้ขนาด 720x576 และกล้องวิดีโอที่ส่งมาให้ใช้งานตามภูมิภาค ปรับมาตรฐานของภาพที่บันทึกเป็น 720x576 นั่นเอง ซึ่งอยู่ในระบบ SD ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป
     
 
 
 
HDTV ( High Definition Television )
      มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง" หรือ "โทรทัศน์รายละเอียดสูง"  หรือเรียกสั้นๆ ว่า HDTV เป็นคำสั้นๆ ที่แสดงให้เห็นถึงการแสดงภาพวิดีโอ โดยเลข 1080 หมายถึง จำนวนความละเอียดของเส้นในแนวนอน 1,080 เส้น และตัวอักษร p ย่อมาจาก Progressive Scan หรือ non-interlaced ในขณะที่ i ย่อมาจาก interlaced ปัจจุบันทั้ง 1080i และ 1080p เป็นฟอร์แมตความละเอียดสูงสุด ที่ใช้กันทั่วไปในการแพร่ภาพโทรทัศน์และการเก็บภาพวิดีโอ
 
      ดังนั้น 1080p จึงเป็นสัญญาณภาพแบบ HDTV โดยมีการรับส่งสัญญาณภาพในแบบจอกว้างหรือไวด์สกรีน ( Widescreen ) อัตราส่วน 16:9 นั่นหมายความว่า ความละเอียดของการแสดงจะผลอยู่ที่ 1920 จุดในแนวนอน และมีความละเอียด 1080 จุดในแนวตั้ง รวมเท่ากับ 1920 x 1080 หรือเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล )
 
คำว่า Full HD และ HD-Ready มีความหมายอย่างไร
      Full HD หมายถึงการแสดงผลของจอภาพโทรทัศน์ที่ให้รายละเอียดจำนวนของเส้นในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น ทั้งแบบ 1080i และ 1080p ถือว่าเป็นแบบ Full HD สำหรับจอแสดงภาพในแนวนอนเท่ากับ 1,080 เส้น นั่นคือเป็นคำจำกัดความของจอภาพแบบ  Full HD จะแสดงผลทางแนวตั้งและแนวนอน เท่ากับ 1920x1080 จุด ซึ่งเท่ากับ 2,073,600 พิกเซล ( 2Mpixel หรือ 2 ล้านพิกเซล ) นั่นเอง
     
      HD Ready คำนี้จะใช้สำหรับจอภาพที่มีความละเอียดต่ำกว่า Full HD ไม่ว่าจะเป็นขนาดภาพ 1366x768 หรือ 1024x768 หรือ 1280x720 สำหรับจอภาพโทรทัศน์ที่โฆษณาว่าเป็น HD Ready นั้นจะรองรับการนำเข้า input HDMI รับสัญญาณภาพจากเครื่องเล่นที่เป็น Full HD ( 1080i หรือ 1080p ) เช่น..เครื่องเล่น Blu-ray มีขนาดภาพ Full HD 1920x1080 (pixels) ส่งต่อสัญญาณภาพให้โทรทัศน์ที่มีขนาดจอภาพเป็น HD เพียง 1280x720 (pixels) เครื่องรับโทรทัศน์จะทำการ Down Scale ให้เหลือแค่ Native Resolution ให้แสดงผลเท่าที่จอภาพของมันจะทำได้เท่านั้น คือจากขนาดภาพ 1920x1080 pixels (1,080 เส้น) เหลือเพียงขนาดภาพ 1280x720 (720 เส้น) เหมือนว่ารองรับสัญญาณภาพ Full HD 1920x1080 (1,080 เส้น) แต่จริงๆแล้วแสดงผลบนจอภาพโทรทัศน์เพียง 1280x720 (720 เส้น) เท่านั้น จึงเรียกว่า HD-Ready ( แปลว่า...พร้อมสำหรับ HD แต่ไม่ใช่ Full HD )
     
      ตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ยอมรับว่าการแสดงผลแบบ 1080p ถือว่าเป็น Full HD แต่สำหรับการแสดงผลแบบ 1080i แค่ยอมรับได้ว่าเป็น HD  แต่ทางอเมริกากำหนดว่าการแสดงผลแบบ 1080i และ 1080p เป็นแบบ Full HD ส่วนการแสดงผลแบบ 720p ที่มีจำนวนเส้นในแนวนอน 720 เส้น แบบ Progressive Scan นั้นเป็นเพียง HD ธรรมดา  ( แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่า 720p เป็น HD เพราะประเทศญี่ปุ่นมีมาตรฐานสูงและเป็นผู้พัฒนาระบบ HD เป็นประเทศแรก เขายังกล่าวว่าสามารถผลิตภาพที่มีความคมชัดสูงมากกว่านี้ ที่เรียกว่า Super Vision Television ซึ่งผมเคยไปเห็นด้วยตามาแล้ว... )
 
     ส่วนภาพขนาด 720i ( 720 เส้น แบบ interlaced ) ไม่ถือว่าเป็น HD แต่เป็นแบบ EDTV (Extended Definition Television) ระดับภาพแบบมาตรฐานของเครื่องเล่น DVD หรือ HD-DVD
 
สรุปตามขนาดการแสดงภาพแบบ HD ซึ่งเป็นสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ได้ว่า
- ขนาดภาพแบบ Full HD เท่ากับ 1,920 x 1,080 pixels = 2,073,600 พิกเซล
- ขนาดภาพแบบ HD เท่ากับ 1,280 x 720 pixels = 921,600 พิกเซล ( ไม่ใช่ Full HD )
 
อัตราส่วนของจอภาพ สำหรับ HD คือ ขนาดความกว้าง x ความสูง เป็น 16 ต่อ 9 (16:9) ซึ่งเปรียบเทียบค่าได้จากการนำค่าของความกว้างกับความสูงมาหารกัน ดังนี้ 1,920/1,080 เท่ากับ 16/9 และ 1,280/720 เท่ากับ 16/9 เหมือนกันนั่นเอง
 
 
XGA ( Extended Graphics Array )
     คือคำที่เรียกการแสดงผลของจอภาพคอมพิวเตอร์ ( Monitor Computer ) ย่อมาจาก Extended Graphics Array (แปลว่าขบวนปรับภาพแบบขยาย) เป็นชนิดจอ LCD หรือ LED มีหลายมาตรฐาน คือ
 
VGA ( Video Graphics Array )
SVGA ( SuperVideo Graphics Array )
SXGA ( Super Extended Graphics Array )
UXGA ( Ultra Extended Graphics Array )
 
มีความละเอียดตั้งแต่

VGA คือ ขนาดภาพ 640x480 พิกเซล ( 4:3 )
SVGA คือ ขนาดภาพ 800x600 พิกเซล ( 4:3 )
XGA คือ ขนาดภาพ 1024x768 พิกเซล ( 4:3 )
SXGA คือ ขนาดภาพ 1280x1024 พิกเซล ( 4:3 )
SXGA+ คือ ขนาดภาพ 1400x1050 พิกเซล ( 4:3 )
UXGA คือ ขนาดภาพ 1600x1200 พิกเซล ( 4:3 )
 
แล้วยังมีขนาดอัตราส่วนอื่นๆ อีก ที่ขึ้นต้นด้วย W เรียกว่า Wide Screen (จอกว้าง) คือ
WVGA คือ ขนาดภาพ 840x480 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA คือ ขนาดภาพ 1280x800 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA+ คือ ขนาดภาพ 1440x900 พิกเซล ( 16:10 )
WSXGA คือ ขนาดภาพ 1680x1050 พิกเซล ( 16:10 )
WUXGA คือ ขนาดภาพ 1920x1200 พิกเซล ( 16:10 )
WXGA (HD-Ready) คือ ขนาดภาพ 1366x768 พิกเซล ( 16:9 )
WSVGA (Full HD) คือ ขนาดภาพ 1920x1080  พิกเซล ( 16:9 )

เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูล

เทคโนโลยีการจับันทึกข้อมูล

            การปฏิบัติงานของทุก ๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตาม  ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ทำอย่างไรจึงจะได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และครอบคลุมตามความต้องการของผู้ที่จะข้อมูล ทำอย่างไรจึงจะสามารถบริหารจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารได้ตรงตามที่ต้องการ  ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ได้เข้ามาช่วยในเรื่องการจัดการกับข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้ผู้ใช้หลาย ๆ คน สามารถเข้าไปใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะมีการกำหนดสิทธิในการใช้งาน ( Authentication )  ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายและมีความเป็นปัจจุบัน ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในองค์กรมากขึ้น แต่การขยายตัวของปริมาณข้อมูลที่มีอัตราสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีการเพิ่มจำนวนของไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) ด้วยเช่นกัน เพราะเมื่อต้องการจะเพิ่มพื้นที่ (Capacity) ให้กับเซิร์ฟเวอร์เดิมที่มีอยู่ จะสามารถทำได้ในปริมาณมากที่สุด (Maximum Capacity) ที่เซิร์ฟเวอร์รุ่น                นั้น ๆ สามารถรองรับได้ และหากไฟล์ที่ต้องการจะแชร์ข้อมูล (Data Sharing) เป็นไฟล์ที่อยู่คนละระบบปฏิบัติ (Operation System) หรือคนละแพลตฟอร์ม Plat form) ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการที่ใช้       ย่อมเกิดปัญหาที่จะต้องหาเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่มาเพิ่ม เพราะเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวสามารถจะรองรับการทำงานของระบบปฎิบัติการได้เพียงระบบเดียวเท่านั้นในเวลาหนึ่ง ๆ



การขยายตัวทำให้เกิดความซับซ้อนสำหรับการดูแลและจัดการไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Serve) ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นพร้อม ๆ กับความยุ่งยากและซับซ้อน




            Network Attached Storage เป็นเทคโนโลยีที่รู้จักในคำว่า NAS”  ซึ่งช่วยแก้ปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี กล่าวคือเป็นการนำเอาความคิดรวบยอดในการยุบ (Consolidate) ไฟล์เซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัวรวมกันเป็นจุดเดียว ทำให้ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ทำงานน้อยลง เพราะดูแลเพียง NAS จุดเดียว
                               
                                               Network Attached Storage (NAS)


            NAS เป็นการต่อ Storage ผ่าน IP Network ที่องค์กรทั่วไปมีอยู่แล้ว เช่น WAN  LAN  ซึ่งเหมาะกับข้อมูลประเภท Filebase I/O ที่ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลขนาดใหญ่ แต่การอ่านเขียนไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา  เมื่อใช้ IP Network มีลักษณะเป็น Share Network  ในการใช้ NAS จะมีข้อดีคือสนับสนุน File System ทั้ง CIFS (Windows) และ NFS (Unix) ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างกว้างขวาง และไม่เสียค่า Client Access License จึงเป็นที่นิยมขององค์กรต่าง ๆ เพราะใช้แทน File Server ทั่ว ๆ ไปได้เป็นอย่างดี

            อุปกรณ์ NAS แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1. อุปกรณ์ NAS ที่ใช้ประโยชน์จากโพรโตคอล Network Data Management Protocol (NDMP) จากผู้ค้าอย่าง Network Appliance, EMC และ Procom อุปกรณ์ NAS เหล่านี้จะใช้ประโยชน์จากโพรโตคอล NDMP เพื่อทำการแบคอัพ และโอนถ่ายข้อมูลกลับคืน โพรโตคอล NDMP จัดเป็นวิธีการง่ายๆ และรวดเร็วสำหรับซอฟต์แวร์สำรองข้อมูลที่จะทำการโอนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์ NAS ไปยังเทปไดรฟ์ ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ NAS โดยตรง การใช้โพรโตคอล NDMP ทำการสำรองข้อมูลนั้นทำให้ไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายข้อมูลที่ทำการสำรองจากอุปกรณ์ NAS ไปยังเซิร์ฟเวอร์สำรองข้อมูลผ่านทางเครือข่าย TCP/IP อีกต่อไป วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับการแบกอัพผ่านเครือข่าย โดยทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อออปชัน NAS (NAS OPTION) ในโซลูชันด้านการสำรองข้อมูล 
       2. อุปกรณ์ NAS ที่ประยุกต์การใช้งานแบบวินโดวส์จากผู้ค้าอย่าง HP, Dell, IBM และ IomegaNAS มีการพัฒนาบนพื้นฐานของเคอร์แนลแบบยูนิกซ์ สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบ Network ได้ทุกรูปแบบ ซึ่งสามารถสำรองข้อมูลสำรอลแบบโลคอลได้  จึงไม่จำเป็นต้องโอนถ่ายข้อมูลสำรองผ่านเครือข่าย TCP/IP อีกทำให้การสำรองข้อมูลมีประสิทธิภาพได้เพิ่มสูงขึ้น
                   
รูปการเชื่อมต่ออุปกรณ์ NAS Appliance เข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก
การเลือกใช้อุปกรณ์ NAS จะต้องคำนึงถึงความสามารถพื้นฐาน 5 ประการ คือ
1.        อุปกรณ์ทั้งหมดจะต้องรองรับโพรโตคอล DHCP โดยไม่ต้องติดตั้งหน้าจอคอลโซลเพื่อเข้าไปปรับแต่งค่าทางด้าน Network ของอุปกรณ์ แต่เป็นเพียงการเปิดเครื่องและเชื่อมต่อเข้ากับ Network ที่มีอยู่ เพื่อเรียกหา IP Address และค่าอื่น ๆ ที่จำเป็นจากเซิร์ฟเวอร์ DHCP ได้ทันที
2.        อุปกรณ์จะต้องสนับสนุน Protocol ต่าง ๆ เช่น CIFS (Common Internet File System) , FTP , HTTP , NF (Network File System) เพื่อจได้ไม่ต้องเข้าไปจัดการมาก ควรเป็นเพียงเลือกใช้หรอยกเลิกการใช้งาน  Protocal ต่าง ๆ ตามความเหมาะสมก็พอ
3.        อุปกรณ์จะต้องมี Interface และ Port การเชื่อมต่อให้เลือกได้หลายรูปแบบหลายช่องทาง เช่น Port แบบ 10/100 มี Ethernet อย่างน้อย 2 Port เป็นมาตรฐาน
4.        อุปกรณ์จะต้องกำหนดผู้ใช้/กลุ่มผู้ใช้ได้ โดยการเรียกข้อมูลของ User และ Group ของ User เพื่อกำหนดสิทธิการใช้งาน
5.        จะต้องมี Web Interface สำหรับการจัดการและปรับแต่งค่าคอนฟิกูเรชั่นต่าง  ๆ ของอุปกรณ์ โดยไม่ต้องมีการติดตั้ง Software เป็นเพียงเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ เพื่อให้จัดการได้ทันที


          ภาพตัวอย่างของอุปกรณ์ NAS
                         Seagate Barracuda ES750GB




                                              NS4300N
            แนวโน้มในอนาคตจะมีการรวมกันของ SAN-NAS (สตอเรจ แอเรีย เน็ตเวิร์กซึ่งเป็นระบบสำรองข้อมูลขนาดใหญ่-เน็ตเวิร์ก แอตแทช สตอเรจ ที่เป็นระบบสำรองข้อมูลขนาดที่ต่อกับเน็ตเวิร์กเดิม) การรวมกันของ 2 ระบบนี้ จะเรียกว่าฟาบลิก แอตแทช สตอเรจ (FAS) ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่ายนี้จะเพิ่มมากขึ้น (จากข้อมูลรายงานของไอดีซีระบุว่า สัดส่วนของFAS ในปี 2003 เพิ่มขึ้นเป็น 81% จากปี 2002 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 56% ส่วนที่เหลือเป็นไดเรกต์แอตแทช สตอเรจ (DAS) ซึ่งเป็นสตอเรจที่ต่อตรงเข้ากับคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์


ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลได้มีพัฒนาการจากเซิร์ฟเวอร์ ไปสู่ระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล โดยจะมีประสิทธิภาพและการใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศมีด้วยกันสามส่วนอันได้แก่ คอมพิวเตอร์, ระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูล ทั้งนี้ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาบริษัทต่างๆได้มีการพัฒนาในสองส่วนแรกอย่างมากและได้ทิ้งให้ เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลล้าหลังอย่างเห็นได้ชัด ถ้าพูดถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลก็จะหมายความถึงอุปกรณ์ ฮาร์ดดิสค์, เทปบันทึกข้อมูล หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลในแบบอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการ พัฒนาให้มีขนาดเล็กลง, มีความจุสูงขึ้นและมีความเร็วในการอ่านข้อมูลสูง แต่ปัจจุบันนี้องค์กรส่วนใหญ่ที่ได้นำเอา เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบการเพิ่มฮาร์ดดิสค์เข้าไปในเซิร์ฟเวอร์ ได้เริ่มมองเห็นแล้วว่าไม่สามารถรอง รับการเติบโตและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรที่ได้มีการใช้งานผ่านระบบเครือข่ายซึ่งการจัดการด้านข้อมูล และระบบจัดเก็บเป็นเรื่องสำคัญมากในการดำเนินธุรกิจดัวนั้น หลายต่อหลายบริษัทได้เริ่มที่จะให้ความสนใจเกี่ยวกับโซลูชันด้านการจัดเก็บข้อมูลมากยิ่งขึ้น
วิถีในการจัดการด้านระบบจัดเก็บข้อมูล ได้มีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน เมื่อเทียบกับองค์ประกอบสองส่วนแรกของ โครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลสมัยใหม่ ได้ทำให้การจัดเก็บข้อมูลก้าว ไปสู่ยุคใหม่ของระบบเครือข่ายที่ทันสมัย ผมขอกล่าวถึงแนวโน้มต่างๆ ที่จะมีส่วนในการส่งเสริมการใช้งานและความ ก้าวหน้าของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลอาทิเช่น
  • ปริมาณข้อมูลขององค์กรที่ต้องจัดเก็บเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกๆ 6-12 เดือน
  • ความต้องการของพนักงาน, คู่ค้า รวมถึงลูกค้าที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ อย่างรวดเร็วซึ่งสามารถแปลงเป็น ประโยชน์ต่อองค์กรในรูปแบบของการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, ความพึงพอใจของลูกค้า และเป็นการ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และคู่ค้าขององค์กร
  • ความปรารถนาของหลายองค์กรที่ต้องการควบคุม Total Cost of Ownership สำหรับโครงการด้านไอทีและ ต้องการใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างระบบเครือข่ายที่มีอยู่
  • ความต้องการในการเตรียมตัวสำหรับการก้าวสู่ธุรกิจ ที่มีการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต มาใช้รวมถึงการกู้ข้อมูลจากความเสียหาย แม้ว่าบางส่วนของโครงสร้างระบบสารสนเทศจะหยุดทำงานไป และในบางกรณียัง รวมไปถึงการสร้างสำเนาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญสูง
  • ความต้องการด้านการจัดเก็บข้อมูลจะเติบโตต่อไป ตราบเท่าที่บริษัทมีการสร้าง และเก็บฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
จากเหตุการณ์ 11 กันยายน เมื่อปีที่แล้วได้เน้นย้ำว่า การจัดเก็บข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจเนื่องจากการ ทำธุรกิจทุกวันนี้ขึ้นอยู่กับการสะสมและจัดเก็บข้อมูลของบริษัทเป็นสำคัญ ตลอดจนช่วงเวลาสำหรับการสำรองข้อมูล ก็สั้นมากจนแทบจะเป็นไปแบบนาทีต่อนาที
การพัฒนาด้านระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลจะช่วยให้บริษัทที่มีฐานข้อมูลมากๆ สามารถทำงานได้ง่ายและสะดวกขึ้น สำหรับฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, และฝ่ายบริการลูกค้าโดยพวกเขาสามารถเห็นภาพรวม ของการทำงานขององค์กรได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากฐานข้อมูลของแต่ละแผนก ที่เมื่อก่อนแยกกันเก็บรักษา ทั้งนี้จากการที่มีการจัดเก็บข้อมูลในระบบเดียว จะช่วยให้การบำรุงรักษาง่ายขึ้น
เป้าหมายของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลก็คือ ความสามารถในการรวมอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหลายชนิดเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสค์, แบ๊กอัพเทป ฯลฯ การทำเช่นนี้ทำให้บริษัทสามารถจัดการแหล่งข้อมูลต่างๆ จากส่วนกลางได้ ดังนั้นผู้ดูแลระบบสามารถมั่นใจได้ว่า ข้อมูลทุกชิ้นได้มีการสำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนข้อมูลสำคัญของบริษัท ได้ถูกจัดเก็บไว้ในหลายสถานที่อย่างปลอดภัย และทั้งหมดนี้จะรองรับด้วยระบบความปลอดภัยรวมของเครือข่ายอีกชั้นหนึ่ง จึงรับประกันได้ว่าธุรกิจของท่าน จะไม่หยุดชะงักแม้ในยามที่เกิดวิกฤตการณ์ที่เหนือความคาดหมาย
ในยุคของระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลนี้ ความชาญฉลาดของการจัดเก็บข้อมูลนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของระบบเครือข่ายเป็นสำคัญ องค์กรหลายๆ แห่งได้ปรับเปลี่ยนจากที่ใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง (Direct Attached Storage, DAS) ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่ต่อตรงเข้ากับเซิร์ฟเวอร์แต่ละตัว และนอกจากนี้โซลูชันชนิดนี้ยังมีราคาแพง และยากต่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรเริ่มที่จะหันมามองโซลูชันด้านระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูล ซึ่งสามารถรวมฐานข้อมูลที่อยู่แยกจากกัน ให้มาอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน ในอันที่จะลดต้นทุนในการบำรุงรักษา และขยายความสามารถในการสำรองข้อมูล ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลได้อีกด้วย
ในปัจจุบันหลายองค์กรได้มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสำหรับการจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า Storage Area Network หรือ SAN แต่ข้อเสียก็คือยังคงเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลที่แยกออกมาเดี่ยวๆ เพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเท่านั้นเอง โดยข้อดีของ SAN คือมีการเชื่อมต่อผ่านสายใยแก้วนำแสง จึงสามารถที่จะส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และไม่นานมานี้ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตก็ได้เข้ามาช่วยให้ระบบ SAN มีความสามารถดียิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยี IP Storage อย่างเช่น iSCSI ซึ่งได้เข้ามาแก้จุดด้อยของระบบ SAN ที่แต่เดิมทำงานในรูปแบบที่แยกเป็นเอกเทศนั้น สามารถเชื่อมต่อและส่งผ่านข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวในองค์กรได้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่แห่งใด ซึ่งความสามารถนี้ช่วยให้ องค์กรเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานข้อมูลของตนได้อย่างมาก และนอกจากนี้ iSCSI ยังช่วยให้องค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กสามารถใช้งานการจัดเก็บข้อมูลแบบไอพี- เบส ได้โดยมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำกว่าการทำระบบ SAN ที่ส่งผ่านช่องสัญญาณใยแก้วนำแสง (pure fiber-channel SAN)
เทคโนโลยีด้านการจัดเก็บข้อมูลมีส่วนอย่างมาก สำหรับเสถียรภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการที่มีการสำรองข้อมูลไว้นอกสำนักงาน ทำให้บริษัทมีการเก็บรักษาข้อมูลไว้สองแห่ง ทั้งนี้ถ้าระบบใดระบบหนึ่งเกิดขัดข้องก็สามารถสลับไป ใช้งานอีกที่หนึ่งและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในอดีตที่ผ่านมา การทำเช่นนี้จะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เราสามารถต่อเชื่อมระบบเครือข่ายจัดเก็บข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต โดยอาศัยความสามารถของ สตอเรส เราเตอร์ซึ่งถูกพัฒนามาใช้ในการเชื่อมต่อ SAN เข้าด้วยกัน

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีเมนบอร์ด และ cpu


เทคโนโลยีเมนบอร์ด และ cpu

เมนบอร์ด (Mainboard)
      เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม
มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

     ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
     ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง
     2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
     2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
     ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
     ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 
5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
     ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ 
     ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
     ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
     ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
     ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM


     ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว

     ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
     ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว

     โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
     โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
     โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
     ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
     ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น
ภาพเปรียบเทียบขนาดของ Die ระหว่าง Sandy Bridge และ Ivy Bridge ที่มีขนาดแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด Sandy Bridge มีขนาด Die ประมาณ 216 ตารางมิลลิเมตร แต่มีทรานซิสเตอร์จำนวน 1.16 พันล้านตัว ในขณะที่ Ivy Bridge มีขนาด Die เพียง 160 ตารางมิลลิเมตรเท่านั้น แต่มีจำนวนทรานซิสเตอร์มากถึง 1.4 พันล้านตัว

Features
H77
Z75
Z77
B75
Q75
Q77
Processor Support / Socket
LGA 1155
LGA 1155
LGA 1155
LGA 1155
LGA 1155
LGA 1155
CPU Performance Tuning
-
1
1
-
-
-
Processor Graphics Overclocking
Switchable Graphics (Dynamic Muxless Solution)2
Built-in Visuals
Intel® Rapid Storage Technology 11
3
3
Intel® RST Smart Response Technology4
-
-
-
Intel® Smart Connect Technology
Intel® Rapid Start Technology
Intel® Wireless Display /Music
3 Independent Displays
Intel® Active Management Technology 8.0
-
-
-
-
-
Intel Standard Manageability
-
-
-
-
5
5
Intel® ME Firmware 8.0 SKU6
1.5MB
1.5MB
1.5MB
5MB
5MB
5MB
2012 vPro
-
-
-
-
-
2012 SIPP7
-
-
-
-
PCIe Configuration
1X16
1X16 or 2X8
1X16 or 2X8 or     1X8+2X4
1X16
1X16
1X16
Total USB Ports (Max USB3 Ports)
14 (4)
14 (4)
14 (4)
12 (4)
14 (4)
14 (4)
PCI Express 2.0 (5 GT/s)
8
8
8
8
8
8
Legacy PCI
-
-
-
SATA Ports (Max# 6Gb/s)
6(2)
6(2)
6(2)
6(1)
6(1)
6 (2)
2: SG solution requires 3rd party vendor solution 
3: AHCI HW/FW; RAID not supported 
4: Requires 2nd or 3rd Gen Intel® Core i3 and above CPU 
5: Supported with Ivy Bridge era Intel® Pentium® Processor and Above, or Sandy Bridge era Intel® Pentium® and Intel® Core™ i3 Processors 
6: Actual SPI Device Size will depend on BIOS sizes 
7: 2012 SIPP vPro requires vPro CPUs

Processor NumberCore i7-3770KCore i7-3770Core i5-3570KCore i5-3550Core i5-3450Core i7-3770TCore i7-3770SCore i5-3550SCore i5-3450S
Price$313$278$212$194$174$278$278$194$174
TDP (Watts)777777777745656565
Cores/Threads4 / 84 / 84 / 44 / 44 / 44 / 84 / 84 / 44 / 4
CPU Base Freq(GHz)3.503.403.403.303.102.503.103.02.80
Max Turbo Freq (GHz)3.903.903.803.703.503.703.903.703.50
DDR3 (MHz)160016001600160016001600160016001600
L3 Cache8M8M6M6M6M8M8M6M6M
Intel HD Graphics 2500/4000400040004000250025004000400025002500
Graphics BeseRender Frequency650MHz650MHz650MHz650MHz650MHz650MHz650MHz650MHz650MHz
Graphics MaxDynamic Frequency1150MHz1150MHz1150MHz1150MHz1100MHz1150MHz1150MHz1150MHz1100MHz
PCI Gen 3.0yesyesyesyesyesyesyesyesyes
Intel Secure KeyyesyesyesyesyesyesyesYesyes
Intel OS GuardyesyesyesyesyesyesyesYesyes
Intel SIPPyesyesyesyesYes
Intel vPro TechnologyyesyesyesyesYes
Intel VT-dyesyesyesyesyes
Intel TXTyesyesyesyesyes
เทคโนโลยี CPU (Central Processing Unit)สำหรับในด้านของ CPU หรือหน่วยประมวลผลกลางที่ถือเป็นหัวใจสำคัญ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีผู้ผลิต CPU สำหรับ Notebook รายใหญ่ๆอยู่เพียง 2 แบรนด์  คือ AMD และ Intel  ซึ่งกระแสตอบรับในตลาดผู้ใช้ จะเป็น Intel เป็นส่วนใหญ่ 



Intel นับเป็นเจ้าแห่งวงการ CPU ที่มีส่วนแบ่งครองตลาดสูงสุด มีพัฒนาการ CPU อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ CPU บางรุ่นต้องหายไปจากสายการผลิต สำหรับ CPU ค่าย intel นี้เราแบ่งตลาด CPU เป็น 4 กลุ่มใหญ่ คือ 
Atom 
เป็น CPU ขนาดเล็กสุดที่นิยมใช้ใน netbook  แม้ว่าตลาดของ netbook จะดูย่ำแย่ลง กระแสตอบรับของผู้ใช้ถดถอยลงมาก แต่ด้วยราคาที่ไม่แพงรองรับการใช้งานแบบเบาๆทั้งการท่องเว็บหรืองานเอกสารเล็กๆ ค่อนข้างดี ส่งผลให้มีผู้ผลิตหลายรายยังคงสายการผลิตไว้อยู่ และ intel ได้สนับสนุนหลักการของ netbook อย่างต่อเนื่องโดยทำการพัฒนาGeneration ที่ 3 ของ CPU สายนี้ด้วยเทคโนโลยี 32 nm ที่ใช้รหัสว่า D2500 โดยได้กำหนดลักษณะเฉพาะของ netbook รุ่นใหม่ เพื่อให้เป็นตัวเลือกของผู็ที่จะใช้ Tablet ต้องชั่งใจก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8 ก็จะทำให้ netbook รองรับการแปลงร่างตัวเครื่องไปมาได้ให้เป็นทั้ง Tablet  หรือเครื่อง netbook ปกติ นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ อาทิ รองรับ Blu-ray 2.0 สามารถดูไฟล์ภาพยนตร์แบบ 1080p , สามารถซิงค์ข้อมูลกับเครื่อง PC ได้่ มีระบบเชื่อมต่อจอแบบไร้สาย WiDi และระบบ wireless music, smart connect ที่สำคัญคือการเปิดเครื่องที่รวดเร็วมากขึ้นเทียบเท่า Ultrabook เลยทีเดียว ซึ่งคาดว่า ในปี 2012 นี้ คงจะเห็นใน netbook รุ่นใหม่ อย่างแน่นอนIntel Celeron  
เป็น CPU ที่ผลิตมาเพื่อรองรับ notebook ระดับล่างสุด คู่กับ CPU รุ่น Pentium Dual Core ที่จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่า Pentium Dual Core แต่ด้วยราคา CPU ที่ค่อนข้างถูกมากๆ จึงยังเป็น CPU สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นประหยัด ทั้งแบบตั้งโต๊ะและ Mobile เลือกใช้อยู่ แม้ว่าจะมีข่าวออกมาเป็นระยะว่า intel จะเลิกผลิต แต่ปี 2012 intel ก็ออก Celeron สำหรับ notebook ออกมาถึง 4 รุ่น

  •  Intel Celeron 867 (ULV) – 2 cores 2 threads / 1.30 GHz / cache 2 MB
  •  Intel Celeron 797 (ULV) – 1 cores 1 thread   / 1.40 GHz / cache 1 MB
  •  Intel Celeron B815          – 2 cores 2 threads  / 1.60 GHz / cache 2 MB
  •  Intel Celeron B720          – 1 core   1 thread   / 1.70 GHz / cache 1 MB

Pentium Dual Core 
Pentium Dual Core เป็น CPU ระดับ 2 แกน ที่มีประวัติการพัฒนาที่ยาวนาน ยังคงเป็น CPU ที่ใช้ในเครื่องระดับต้นๆ ที่ใช้กับงานทั่วๆไป เช่น การทำงานด้านออฟฟิต บันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมออนไลน์ที่กราฟฟิก ไม่สูงมากนัก แต่ก็มีผู้ผลิตหลายรายชดเชยด้วยการวางการ์ดจอแยกให้กับเครื่อง ทำให้มีประสิทธิภาพในเชิงกราฟิกที่สูงขึ้น แม้ว่าจะมีข่าวคราวว่า CPU สายพันธ์นี้จะไปพร้อมกับ Core 2 หรือ Core 2 Duo แต่ปรกฏแน่ชัดแล้วว่า จะยังคงอยู่คู่กับ Intel Celeron ในตลาดคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ตลาดระดับนี้ต่อไป 
Core i 
นับเป็นนวัตกรรมของ CPU ค่าย intel ในปัจจุบัน ที่มีกระแสตอบรับสูง CPU ในสายนี้ จะมี 3 class ที่เรียกว่า i3,  i5 และ  i7  Core i  นับเป็นการปฎิวัติของ CPU ใหม่ ที่มีทั้งการเพิ่ม Hyper threading หน่วย Core เสมือน และ Turbo Boost ซึ่งทำให้ CPU สามารถเพิ่มความเร็วเองได้อัตโนมัติ 

ปัจจุบัน Core i (2012) ได้พัฒนามาถึง Generation ที่ 3 โดยมี Code name ชื่อว่า Ivy Bridge ซึ่ง Gen 3 นี้กำลังเข้ามาแทนที่ ในตลาดอย่าง Sandy Bridge ซึ่งประสิทธิภาพโดยรวมอาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก 
Core i Gen 2 (Sandy Bridge) แม้ว่าจะถูกแทนที่ด้วย Core i  Gen 3 (Ivy Bridge จะมาพร้อมด้วยคุณสมบัติใหม่ๆ อาทิ Intel Graphics HD 4000, แรม DDR3-1600 MHz, รองรับฮาร์ดดิสก์ SATA III และมาตรฐาน USB 3.0 เต็มรูปแบบ) แต่ภาพรวมในปี 2012 Core i Gen 2 (Sandy Bridge) ยังจะเป็นกำลังสำคัญในการรักษาพื้นที่การตลาดในปีนี้ ด้วยเหตุที่ Ivy Bridge จะยังคงมีราคาค่อนข้างสูง

ในเรื่องของเทคโนโลยีของ intel ใน CPU ตระกูล Core  มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจหลายตัว อาทิ
Intel® Turbo Boost Technology 2.0
เทคโนโลยี Intel® Turbo Boost 2.0 ความเร็วของโปรเซสเซอร์จะสามารถปรับอัตโนมัติ ในเวลาที่คุณต้องการประสิทธิภาพ ก็จะสามารถปรับให้เหมาะสมได้เช่นกัน 

Intel® Quick Sync Video 
ส่วนหนึ่งของระบบแสดงผลในตัว ผนวกรวมฮาร์ดแวร์การแปลงวิดีโอลงในโปรเซสเซอร์ เพื่อเร่งประสิทธิภาพในการตัดต่อ, เขียนข้อมูล และแบ่งปันวิดีโอ ในชั่วเวลาไม่นาน 
Intel® HD Graphics 
โปรเซสเซอร์ Intel® Core™ เจนเนอเรชั่น 2 และ 3 ได้ผนวกรวม engine ทางกราฟิกและการประมวลผลสื่อเข้าไว้ในชิป เพื่อให้การแสดงผลทางกราฟิกที่ดูสมจริง




แม้ว่าค่าการตลาด AMD จะเป็นรองต่อ intel อยู่มาก ด้วยภาพลักษณ์ในอดีตที่ถูกขีดเส้นใต้ว่า เป็น CPU ที่มีความร้อนสูง แต่ AMD ก็ยังเป็น CPU คู่ฟัดตลอดกาลกับ intel มาโดยตลอด ล่าสุด AMD ได้ปฏิวัติ CPU ภายใต้มาตรฐานใหม่ ที่เรียกว่า APU (Accelerated Processing Units) โดยเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีด้วยการผนวกรวม CPU และการ์ดจอคุณภาพระดับ HD เข้าไปในชิปตัวเดียวกัน ทำให้ CPU นี้ประหยัดพลังงานมากขึ้น ราคาถูกลง และมีความร้อนต่ำลงมาก แต่ประสิทธิภาพการแสดงผลทางกราฟิกก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าการ์ดจอแยก ซึ่ง AMD ได้ออก CPU นี้ โดยจะเรียกว่า APU  ปี 2012 AMD จะนำ APU รุ่นใหม่ ทะยอยออกสู่ตลาด ตั้งแต่ Trinity, Krishna, Wichita และ Komodo 
สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ของ AMD มี E Series เป็นรุ่นระดับล่างที่ออกมาเพื่อ Tablet และ Netbook ประสิทธิ์ภาพพอใช้งานทั่วไป ใช้พลังงานต่ำแผ่ความร้อนน้อย และที่สำคัญที่ดีกว่าคู่แข่งคือการ์ดจอที่แรงกว่าพร้อมรองรับ DX11
ส่วน A Series ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ที่ต้องการทั้งการประมวลผลขั้งสูง และราคาคุ้มค่า โดยมีตั้งแต่ A4, A6, A8 และ A10 โดดเด่นที่จำนวน Core 4 แกนในรุ่น A6 ขึ้นไปผนวกการ์ดจอภายในที่มีประสิทธิภาพสูงรองรับการ CrossFire เพื่อเพิมประสิทธิภาพการแสดงผลสูงสุด


ในปลายปี 2553 เริ่มมีข่าวการพัฒนาซีพียู Platform ใหม่ของ AMD และเตรียมเปิดตัวออกจำหน่ายในปี 2554 และการเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ของ AMD ได้สร้างความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการรวมเอาหน่วยประมวลผลข้อมูลและประมวลผลกราฟิกไว้ในตัวเดียวกัน ซึ่งถือเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีจากการใช้ซีพียูแบบ Single-Core, Multi-Core มาเป็นเทคโนโลยีซีพียูแบบใหม่
flickr:5728885175
การพัฒนาเทคโนโลยีซีพียูในยุคต่าง ๆ
flickr:5728887215
ภาพงาน AMD “Fusion Launch in Thailand”
AMD Fusion APU เป็นซีพียูแบบ Multi-Core ประกอบขึ้นมาจากคอร์ Phenom II แบบ 32 นาโนเมตรที่มีได้สูงสุดสี่คอร์ และใช้โปรเซสเซอร์กราฟฟิก (GPU) ที่มากับ VISION Engine ซึ่งรองรับ DirectX 11, UVD3 และสนับสนุนวีดีโอ HD 1080p พร้อมต่อออกทีวีผ่านพอร์ท HDMI
flickr:5728888433
จุดเด่นหลัก ๆ ของ AMD Fusion คือ
1. เป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อเทียบกับซีพียูในระดับใกล้เคียงกัน แต่ใช้พลังงานต่ำลง
flickr:5728889229
ภาพแสดงส่วนประกอบหลักของ APU
2. ขนาดของซีพียูที่เล็กลงอย่างมาก จึงเหมาะสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ต้องออกแบบให้มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก
flickr:5728890249
เปรียบเทียบขนาดซีพียู AMD Fusion
3. AMD Fusion สามารถประมวลผลด้านกราฟิกได้เหนือกว่าการ์ดจอแบบแยกชิ้นบางรุ่น โดยสามารถรองรับการชมภาพยนตร์และการ Streaming ระดับ High-Definition รวมทั้งการสนับสนุน DirectX 11 จากตัว APU เอง ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น
4. GPU ที่รวมเข้าไปในซีพียูของ AMD ได้รับการวิจารณ์ว่าเหนือว่า GPU ของ Intel เพราะว่าสถาปัตยกรรม GPU ของ Intel นั้น ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลแบบขนานเหมือนกับ GPU ของ AMD ที่แยกไปในซีพียูแต่ละตัวเลย
APU ที่เปิดตัวใหม่มีสองตระกูล คือ Zacate และ Ontario ซึ่งจะแบ่งตามการใช้งานตั้งแต่ระดับ Netbook ไปถึง Notebook ประสิทธิภาพสูง แต่ก็ยังเน้นการประหยัดพลังงาน
- E Series (Zacate) สำหรับ Notebook ทั่วไป หรือคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป All-in-one
- C Series (Ontario) สำหรับ Netbook และ Tablet
flickr:5729440432
AMD Fusion APU ที่จำหน่ายในปัจจุบัน
- E-350 ความเร็ว 1.6GHz, Dual core, 18W TDP, เทคโนโลยีการผลิต 40 นาโนเมตร, L2 1MB, GPU 500 MHz. DDR3 1333MHz
- E-240 ความเร็ว 1.5GHz, 1 core, 18W TDP, เทคโนโลยีการผลิต 40 นาโนเมตร, L2 512KB, GPU 500 MHz. DDR3 1333MHz
2. C Series มีชื่อว่า Ontario ประกอบด้วย
- C-50 ความเร็ว 1.0GHz, Dual core, 9W TDP, เทคโนโลยีการผลิต 40 นาโนเมตร, L2 1MB, GPU 280 MHz. DDR3 1066MHz
- C-30 ความเร็ว 1.2GHz, 1 core, 9W TDP, เทคโนโลยีการผลิต 40 นาโนเมตร, L2 512KB, GPU 280 MHz. DDR3 1066MHz
ในด้านประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของ AMD Fusion APU ทาง AMD ระบุว่า
รุ่นท็อป คือ AMD E-350 สามารถใช้งานแสตนบายได้ 10 ชั่วโมง และใช้งานกราฟิก 3D ได้นาน 4 ชั่วโมง, ในขณะที่รุ่นรองลงมาคือ C-50 สามารถใช้งานแสตนบายได้ 12 ชั่วโมง และใช้งานกราฟิก 3D ได้นาน 6 ชั่วโมง
AMD ได้เตรียมออก APU ใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 โดยเตรียมเปิดตัว APU ตระกูล “Llano” A-Series ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ 32 นาโนเมตร แบบ Quad-Core เน้นประสิทธิภาพการทำงาน ผลการทดสอบนั้น AMD ระบุว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่า Intel Core i7-2630QM ซึ่งเป็นซีพียูในรุ่นสูงของ Intel โดยจำนวนแคชก็เพิ่มมากถึง 4 MB รองรับแรมสูงสุดถึงบัส 1,866 MHz นอกจากนั้นก็ยังมาพร้อมการ์ดจอในซีพียู Radeon HD 6000 ในชื่อการพัฒนาว่า “Beaver Creek” และยังรองรับระบบ multi-GPU graphics อีกด้วย
flickr:5729441362




1.ซ็อกเก็ตซีพียู


2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

     1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก
     3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
     4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
     5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
     6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์

3.สล็อต์ AGP 

4.สล็อต PCI 

6.ซิปเซต
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ

7.หัวต่อ SATA 

8.หัวต่อแบบ IDE

9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

10.ซ็อกเก็ตแรม

11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม

12.ตัวต่อ USB

     อินเทลเรียกซีพียูที่สร้างจากสถาปัตยกรรม Sandy Bridge แบบเต็มๆ ว่า 2nd Generation Intel Core Processor (G2) และพอมาเป็น Ivy Bridge อินเทลเรียกซีพียูใหม่นี้ว่า 3rd Generation Intel Core Processor (G3) หรือเป็นรุ่นที่สามนั่นเอง ที่ต้องบอกไว้ตรงนี้ก็เพราะว่าเอกสารของอินเทลบางฉบับใช้ตัวย่อในการเรียกซีพียูทั้งสองรุ่นนี้ว่า G2 และ G3 นอกจากนี้ก็ยังมีตัวย่อที่เรียกซีพียูสองรุ่นนี้อีกครับเช่น Gen 2, Gen 3 SNB และ IVB เป็นต้นครับ เผื่อว่าคุณผู้อ่านไปหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือว่าไปเจอตัวย่อแบบนี้ในบทความอื่นๆ ที่เขาเขียนถึง Sandy Bridge และ Ivy Bridge จะได้ไม่งงครับ

IVB-SND-compatible

ทำงานบนซ็อกเก็ต LGA 1155 และชิปเซตเดิม (ได้บางรุ่น)
ก่อนจะไปดูคุณสมบัติใหม่ๆ ที่อยู่ใน Ivy Bridge เราก็ขอแจ้งข่าวดีให้ทุกท่านทราบว่า Ivy Bridge สามารถทำงานบนเมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA 1155 ที่ใช้ชิปเซต 6 Series ที่ออกมาตั้งแต่สมัยของ Sandy Bridge ได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ เพราะ Ivy Bridge กับ Sandy Bridge มีการวางตำแหน่งของขาสัญญาณต่างๆ เหมือนกันทุกประการทำให้ผู้ใช้สามารถอัปเกรดมาเป็น Ivy Bridge ได้ทันที แม้ว่าจะเป็นข่าวดี แต่มันก็เป็นข่าวดีอย่างมีเงื่อนไขครับ
เงื่อนไขที่ว่าก็คือ Ivy Bridge จะทำงานร่วมกับชิปเซต 6 Series ได้บางรุ่นเท่านั้นได้แก่ H61, H67, P67 และ Z68 ซึ่งเป็นชิปเซตในกลุ่มของ Consumer Platform ส่วนชิปเซต 6 Series ในกลุ่ม Business Platform อย่าง Q65, Q67 และ B65 ใช้งานร่วมกับซีพียู Ivy Bridge ไม่ได้ ต้องอัปเกรดเมนบอร์ดไปเป็นรุ่นที่ใช้ชิปเซต 7 Series เท่านั้น
แม้อินเทลจะแจ้งว่าเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซต H61, H67, P67 และ Z68 รองรับการทำงานของ Ivy Bridge ได้ แต่เพื่อความมั่นใจก่อนจะเสียเงินซื้อซีพียูมาอัปเกรดเราก็ต้องตรวจสอบกับทางผู้ผลิตเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้ออีกครั้งว่าเมนบอร์ดรุ่นที่คุณใช้อยู่นั้นรองรับ Ivy Bridge ด้วยหรือไม่ ซึ่งโดยมาแล้วเท่าที่เราตรวจสอบดูเมนบอร์ดยี่ห้อยอดนิยมทั้งหลายที่ขายในบ้านเรานั้นได้มีการปรับปรุงให้รองรับ Ivy Bridge ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว แต่ถ้าใครซื้อไปก่อนหน้านั้นก็ลองเข้าไปตรวจสอบดูว่ามีไบออสรุ่นใหม่ออกมาหรือยัง ถ้ายังไม่มีข้อมูลใดๆ ยืนยันการรองรับที่ชัดเจนจากผู้ผลิตเมนบอร์ดเราก็ควรรอไปก่อนครับ หรือถ้ารอนานแล้วไม่ไหวและต้องการเปลี่ยนไปใช้ Ivy Bridge จริงๆ แนะนำว่าให้เปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ด้วยเลยจะดีกว่านะครับ

motherboard-7-series
ลักษณะทั่วไปของเมนบอร์ด 7 Series ที่ใช้คู่กับซีพียู Ivy Bridge และใช้งานร่วมกับซีพียู Sandy Bridge ได้ คราวนี้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะอัปเกรดซีพียู จะอัปเกรดเมนบอร์ด หรือจะอัปเกรดทั้งสองอย่างเลย
DIE-IVB-SNB
ภาพเปรียบเทียบลักษณะของ Die ระหว่าง Sandy Bridge (บน) และ Ivy Bridge (ล่าง) ในรูปนี้แม้ว่าสัดส่วนของ Die จะไม่เท่ากัน แต่ดูแล้วก็เห็นได้ชัดเจนว่า ด้วยกระบวนการผลิตที่เล็กลงทำให้อินเทลสามารถเพิ่มจำนวนทรานซิสเตอร์ให้กับส่วนที่เป็นหน่วยประมวลผลด้านกราฟิกได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเราจะได้เห็นในผลของการทดสอบ

Die-Size-2

คุณสมบัติใหม่ใน Ivy Bridge
แม้ว่า Ivy Bridge จะมีสถาปัตยกรรมหลักแบบเดียวกันกับ Sandy Bridge แต่อินเทลก็ได้ทำการเพิ่มเติมคุณสมบัติในการทำงานใหม่ๆ ให้กับ Ivy Bridge มากพอสมควรนอกเหนือไปจากการใช้กระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี 22 นาโนเมตร และใช้ทรานซิสเตอร์แบบ 3D การลดขนาดกระบวนการผลิตทำให้ซีพียู Ivy Bridge มีจำนวนทรานซิสเตอร์ 1.4 พันล้านตัว บน Die ขนาด 160 ตารางมิลลิเมตร ส่วน Sandy Bridge ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 32 นาโนเมตร จำนวนทรานซิสเตอร์ 1.16 พันล้านตัว บน Die ขนาด 216 ตารางเมตร (อ่านเรื่องทรานซิสเตอร์ 3D เพิ่มเติมได้ที่ www.quickpcextreme.com/blog/?p=11525)
ประหยัดพลังงาน: ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตที่เล็กลงและใช้ทรานซิสเตอร์แบบ 3D ประการแรกเลยก็คือเรื่องของการประหยัดพลังงาน คนที่ใช้แพลตฟอร์มเดสก์ท็อปอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องนี้มานัก แต่คนที่กำลังรอคอยการมาของโน้ตบุ๊ก Ivy Bridge ตั้งความหวังเรื่องนี้ไว้มากพอสมควรเลยทีเดียว
ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น: ในตอนท้ายของบทความเรามีผลการทดสอบประสิทธิภาพของ Ivy Bridge เทียบกับ Sandy Bridge ให้ดู ผลทดสอบได้แสดงให้เห็นได้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องของกราฟิก และงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลด้านกราฟิกเพิ่มเติมเข้าไป
การแสดงผลที่ดีขึ้น: เมื่อเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลทางด้านกราฟิกเพิ่มเติมเข้าไปก็ทำให้ Ivy Bridge สามารถแสดงผลบนจอภาพได้ถึง 3 จอ (ใช้กับพอร์ตแสดงผลแบบ Digital) โดยแต่ละหน้าจอเป็นข้อมูลที่อิสระต่อกัน .

Gen3-New-feature
คุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในแพลตฟอร์มทั้งหมดของ Ivy Bridge มีทั้งส่วนที่เพิ่มมาให้จากตัวซีพียู และส่วนที่เพิ่มเติมมาจากชิปเซต 7 Series

IVB-VS-SND-Graphics-EU
เปรียบเทียบคุณสมบัติของกราฟิกชิปที่อยู่ในตัวซีพียู Ivy Bridge และ Sandy Bridge โดยใน Ivy Bridge นั้นมีการเพิ่มจำนวนหน่วยประมวลผลกราฟิกสูงถึง 16 หน่วย มากกว่าเดิม 4 หน่วย และรองรับ DirectX 11
ชิปเซต 7 Series
แม้ว่า Ivy Bridge จะมีความเข้ากันได้กับชิปเซต 6 Series แต่เนื่องจากเทคโนโลยีแวดล้อมต่างๆ มีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานไปจากเดิมทำให้อินเทลต้องออกชิปเซต 7 Series มาเพื่อที่จะทำให้แพลตฟอร์มโดยรวมทั้งหมดมีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น
Chipset-7-Series
ชิปเซต 7 Series ได้ตัดการรองรับเทคโนโลยีเก่าอย่างบัส PCI ออกไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต่อไปเวลาเพิ่มเติมหรืออัปเกรดอุปกรณ์ใดๆ ก็จะต้องใช้พอร์ต PCI-Express เป็นหลัก แต่โดยมากแล้วอุปกรณ์เพิ่มเติมความสามารถต่างๆ ส่วนใหญ่ก็จะใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI-Express x1 เป็นหลัก และชิปเซต 7 Series นั้น ส่วนรายละเอียดและความแตกต่างของชิปเซตของทั้งสองซีรี่ส์นี้ติดตามได้จากรูปตารางเปรียบเทียบนะครับจะเข้าใจง่ายกว่า

Chipset-7S-6S-web
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติที่แตกต่างกันระหว่างชิปเซต 7 Series และ 6 Series
New-In-7-Series-web
ข้อมูลชิปเซต 7 Series

1: Partial performance tuning available on non-K sku 
ประสิทธิภาพ
ทางอินเทลก็ได้มีการเปิดเผยผลการทดสอบซีพียู Ivy Bridge เปรียบเทียบกับ Sandy Bridge มาให้เราได้ทราบกันแล้วครับ ซึ่งเท่าที่เราลองตรวจสอบดูก็พบว่าเป็นผลการทดสอบที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาประสิทธิภาพในการทำงานของ Ivy Bridge ได้ดีพอสมควรคือไม่ได้โม้เกินจริง สำหรับผลการทดสอบที่นำเสนอนี้เป็นการทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง Intel Core i7-2700K (4 Core, 8 Thread, 8M Cache, 3.5GHz) กับ Intel Core i7-3770K (4 Core, 8 Thread, 8M Cache, 3.5GHz)

IVB-Test-Media-Transcode
ผลการทดสอบการแปลงไฟล์วิดีโอด้วยโปรแกรม ArcSoft Media Converter และโปรแกรม CyberLink Media Espresso
IVB-Test-Sysmark2012
ผลการทดสอบด้วยโปรแกรม SYSmark 2012 ซึ่งเป็นการจำลองการทำงานของแอพพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้งานประจำวัน
IVB-Test-Cinebench
ทดสอบด้วยโปรแกรม Cinebench และ PovRay ซึ่งเป็นการเรนเดอร์กราฟิกด้วย OpenGL
IVB-Test-3DMark
ทดสอบด้วยโปรแกรม 3DMark 06 และ 3DMark Vantage เพื่อวัดประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกสำหรับการเล่นเกม

เมื่อซีพียู Sandy Bridge ออกสู่ตลาด สิ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือเรื่องของประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกที่มีน้อยเกินไป แม้ว่ามันจะสามารถรองรับการเล่นเกมง่ายๆ และเกมออนไลน์ได้ แต่ผู้บริโภคมองว่าอินเทลควรจะมอบประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะเมื่อถูกนำไปเทียบกับกราฟิกที่อยู่ในซีพียูของคู่แข่ง
แต่พอมาถึงยุคของ Ivy Bridge เราก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าอินเทลได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปของ Sandy Bridge นั่นก็คือเรื่องของประสิทธิภาพทางด้านกราฟิกนั่นเอง โดยเฉพาะเมื่อดูผลการทดสอบด้วยโปรแกรม 3DMakr 06 และ 3DMark Vantage แล้วจะเห็นได้ว่าอินเทลได้ให้ความกับเรื่องกราฟิกมากขึ้นจริงๆ

ข้อมูลของซีพียูรุ่นต่างๆ ที่ใช้โครงสร้างของ Ivy Bridge

เทคโนโลยีการผลิตซีพียู (Central Processing Unit : CPU) หรือหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน มีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ 2 รายที่พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวออกมาอย่างต่อเนื่องคือ Intel และ AMD โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา Intel มีข่าวการเปิดตัวซีพียูตัวใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทางฝั่งของ AMD ไม่ค่อยมีข่าวการเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ ๆ ออกมาเลย
AMD Fusion เป็น codename ที่ AMD ใช้เรียกชื่อซีพียูสายการผลิตใหม่ ด้วยการผนวกรวมเอาซีพียูและ GPU (Graphic Processing Unit : GPU) ไว้ใน Die เดียวกัน หรือเรียกง่าย ๆ ว่า APU (Accelerated Processing Unit : APU) โดยชิป APU ตัวแรกมีชื่อรหัสในการพัฒนาว่า Llano AMD Fusion ได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนคอมพิวเตอร์โมบาย เช่น Notebook Netbook หรือTablet ซึ่งเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญในการยืดจำนวนชั่วโมงการทำงานของแบตเตอรี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
สถาปัตยกรรม AMD Fusion APU
จุดเด่นของ AMD Fusion APU
จากรูปจะเห็นได้ชัดว่า AMD ต้องการสื่อให้เห็นว่า AMD Fusion นั้นผนวกรวมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นชิปเซต ซีพียู และการ์ดจอเอาไว้ใน CPU ตัวเดียวกัน พร้อมการสื่อให้เห็นถึงการประหยัดพลังงานเป็นพิเศษ จากอุปกรณ์ทั้ง 3 ชนิด ใช้พลังงานรวม 46 วัตต์ แต่ APU ใช้พลังงานเพียงแค่ 18 วัตต์เท่านั้น
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงขนาดของ AMD Fusion เทียบกับ AMD Phenom II ที่มีขนาดเล็กมาก ทำให้สามารถออกแบบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้หลากหลายและมีขนาดที่เล็กลงมากขึ้น
AMD Fusion APU ที่จำหน่ายในปัจจุบัน
1. E Series (Zacate) ประกอบด้วย
AMD Fusion APU ที่เตรียมออกจำหน่ายในอนาคต