วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน

เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน 10 อันดับแรก

ในสภาวะวิกฤตด้านพลังงาน มีความพยายามอย่างมากมายในรูปแบบต่างๆ ทั้งการหาแนวทางในการลดการใช้พลังงาน และการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงานทางเลือกที่สามารถนำมาทดแทนหรือลดการพึ่งพาพลังงานที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  สำหรับภาคการทหารแล้ว การมีข้อจำกัดด้านการพลังงาน หรือเชื้อเพลิง ส่งผลอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติการทั้งในระดับยุทธวิธี และ ระดับยุทธศาสตร์
กองทัพสหรัฐฯ เป็นกองทัพที่ตระหนักดีถึงข้อจำกัด และความเสี่ยงด้านการขาดแคลนพลังงาน รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติภารกิจใดๆ ที่ล้วนแล้วแต่มีผลต่อการประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ และความปลอดภัยของกำลังพลทหาร ดังนั้น กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ริเริ่มโครงการเพื่อการลดอัตราการใช้น้ำ และน้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ ในภาคการทหารตั้งแต่ ตุลาคม 2010 เพื่อให้ภาคการทหารมีอัตราการใช้ทรัพยากรดังกล่าวน้อยลงกว่า 20% ภายใน 10 ปี ทั้งนี้เทคโนโลยีทางทหารเพื่อลดอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานในปัจจุบัน 10 อันดับแรกได้แก่

1. Lithium-air batteries
โครงการพัฒนาแบตเตอรี่ชนิด Lithium-air ได้รับการพัฒนาโดย สถาบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) เมื่อปี 2011 เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก ที่มีขนาดเบา และมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบตเตอรี่มาตรฐานทั่วไป ลดปัญหาการแบกรับน้ำหนักเครื่องมือของทหาร โดยแบตเตอรี่ Lithium-air ชนิดนี้มีค่าความจุพลังงานถึง 2500 Watt hour per kilogram
2. Solar Soldier project
โครงการพัฒนาแหล่งพลังงานขนาดเล็กจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic และ thermoelectric cell) เพื่อให้สามารถพกพา และที่ติดตั้งบนเครื่องแบบ/สัมภาระของทหารได้ ซึ่งนอกจากจะลดภาระการแบกน้ำหนักของทหารแล้ว ยังเป็นการใช้พลังงานสะอาดในภาคการทหารอีกด้วย การพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารดังกล่าวนี้ได้รับการพัฒนาในหลายประเทศเช่น กระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร และกองทัพออสเตรเลีย
3. Solar panels
โครงการพัฒนาแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับฐานทัพหน้า ซึ่งพัฒนาโดย กองทัพบกสหรัฐฯ ด้วยการลงทุนถึง 344 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประกาศว่า ภายในปี 2011 จะสามารถพัฒนาและติดตั้งแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้ถึง 160,000 แผ่น ให้กับฐานทัพต่างๆ เพื่อลดการใช้ และพึ่งพาพลังงานจากภาคพลังงานของเอกชน ตลอดจนเพื่อให้กองทัพบกสหรัฐฯ สามารถใช้พลังงานสะอาดที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ 25 % จากทั้งหมด ภายในปี 2025
4. Water filtration and re-use systems
โครงการพัฒนาระบบกรองน้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นโครงการโดยกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบระบบที่ห้องทดลอง The System Integration Laboratory ณ Fort Devens, Massachusetts ประเทศสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสิ้นเปลืองทรัพยากรน้ำของที่ตั้งทางทหารต่างๆ
5. Organic LED night vision devices
โครงการพัฒนากล้องส่องกลางคืน โดยการนำเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เช่น Organic Light Emitting Diodes (LEDs) และ เทคโนโลยี thin-film มาประยุกต์ใช้ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือของ DARPA และ University of Florida โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการลดการใช้พลังงานของยุทโธปกรณ์ทางทหารชนิดนี้ ซึ่งการวิจัยพบว่า กล้องส่องกลางคืนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว มีความต้องการพลังงานเพียง 5 volts ตลอดจนส่งผลให้มีน้ำหนักเบาขึ้นลดภาระการแบกน้ำหนักของทหารอีกด้วย
6. Air conditioning
จากการปฏิบัติการทหารทหาร ณ ประเทศอิรัก และอาฟกานิสถานของกองทัพสหรัฐ ในปี 2011 พบว่า กองทัพสหรัฐใช้งบประมาณด้านพลังงานสำหรับการปรับอากาศภายในฐานทัพหน้าถึง 20.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้เกิดแนวคิดในการประหยัดพลังงานด้วยการพัฒนาที่พักทหารโดยการใช้ Polyurethane foam เป็นฉนวนกันความร้อน ซึ่งจากการทดลอง พบว่ามีการลดการใช้พลังงานถึง 92%
7. Landfill methane
โครงการพัฒนาโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซมีเทนใต้ดิน ณ Fort Benning Garrison, Alabama ประเทศสหรัฐฯ ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Flex Energy ด้วยการสนับสนุนการลงทุนจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จาก Department of Defense’s Environmental Security Technology Certification Programme ซึ่งโรงงานดังกล่าวสามารถเปลี่ยนพลังงานก๊าซมีเทน เป็นพลังงานไฟฟ้าได้จำนวนมากโดยสามารถสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 250 หลังคาเรือนต่อปี
8. Decentralising heat plants
โครงการพัฒนา/ปรับปรุงโรงงานผลิตไอร้อน ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ด้วยการปรับปรุงระบบการจ่ายไอร้อนจากการรวมการ (Centralized) เป็นแบบกระจาย (Distribution) เพื่อลดอัตราการใช้พลังงานตามข้อกำหนดของรัฐบาลสหรัฐ ปีละ 3% จนถึง ปี 2015
9. US Navy biofuel programs
โครงการพัฒนาพลังงานทางเลือกจากชีวภาพ โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ ร่วมกับ กระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture (USDA) ) ในการพัฒนาพลังงานทางเลือกดังกล่าว และได้นำมาใช้งานในยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของ กองทัพเรือ ภายใต้โครงการ ‘Green Hornet’ อันประกอบด้วย F/A-18 Super Hornet ซึ่งได้ใช้พลังงานผสม 50/50 camelina biofuel blen  ใน เมษายน 2010 เป็นต้น ซึ่งหลังจากนั้นได้มีกองทัพเรือได้ปรับการใช้พลังงานทางเลือกไปสู่ยุทโธปกรณ์อื่นๆ เป็นจำนวนมาก เช่น ฮ.Seahawk, บ.F-22 Rapter และระบบอากาศยานไร้นักบินอย่าง MQ-8B Fire Scout
10. Fuel cells
โครงการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อเป็นระบบสำรองพลังงานให้กับฐานทัพของกองทัพสหรัฐฯ แทนการใช้เครื่องผลิตไฟฟ้าพลังงานดีเซลได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยกระทรวงพลังงาน ร่วมกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านพลังงานให้กับกองทัพ และเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการใช้งบประมาณทั้งในด้านการบำรุงรักษา และเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตของทหาร

การออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ENERGY EFFICIENT HOME DESIGN

หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี

บ้านประหยัดพลังงาน เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นการใช้ประโยชน์จากพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และเป็นพลังงานที่ไม่สามารถทดแทนกันได้อยางคุ้มค่า โดยที่ยังตอบสนองความต้องการ และค่านิยมของยุคปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นการศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดในการประยุกต์ใช้สภาพแวดล้อม ของภูมิอากาศแบบร้อนขึ้นมาช่วยผสมผสานกับเทคโนโลยียุคใหม่ และองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสร้างเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับเขตร้อนชื้นของประเทศไทยเรา ด้วยกรรมวิธีที่ทำให้สามารถประยัดพลังงานได้มากกว่าบ้านทั่วไปหลายเท่า โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและราคาไม่แพงไปกว่าบ้านที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน

แนวความคิดในการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน

  1. การเลือกใช้ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งอาคาร คือการใช้ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ตั้งอาคารเพื่อทำให้สภาพแวดล้อมของบ้านเย็นลงกว่าเดิม
  2. การเลือกที่ตั้งและทิศทางของอาคาร คือการสร้างสรรค์สภาพแดวล้อมให้เย็นเพื่อลดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายใน และภายนอก ซึ่งก็คือให้ตัวบ้านสามารถสกัดกั้นความร้อนจากภายนอกได้มากที่สุด ซึ่งรวมถึงการออกแบบช่องเปิดและการควบคุมการรั่วซึมของอากาศ
  3. การพิจารณาออกแบบและเลือกระบบเปลือกอาคาร คือการเลือกระบบผนังที่สามารถป้องกันความร้อนและความชื้นได้ดี เพราะวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้เมื่อนำมาวิเคราะห์แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกัน มาก
  4. การพิจารณาเลือกระบบที่มาใช้ภายในอาคาร คือการเลือกสรรวัสดุที่มีค่ากักเก็บความร้อนและความชื้นน้อย เช่น วัสดุผิวมัน วัสดุที่มีน้ำหนักเบา ไป พร้อมกับการเลือกใช้เครื่องเรือนเท่าที่จำเป็นและเลือกใช้ชนิดที่มีน้ำหนัก เบาและไม่ดูดความชื้นด้านอุปกรณ์ควรใช้ที่มีประสิทธภาพสูงและใช้พลังงานน้อย
  5. อาคารที่พึงปรารถนา โดยตัวบ้านที่ออกแบบตามแนวคิดข้างต้นก็ยังไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมภายใน ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศ แต่การออกแบบบ้านตามแนวคิดดังกล่าวก็จะใช้เครื่องปรับอากาศเพียงเล็กน้อย เท่านั้น

ประโยชน์ของเทคโนโลยี

  • ลดภาระของระบบปรับอากาศภายในบ้าน
  • ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์และใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมให้อยู่ในเขตสบายตามความต้องการ ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้อยู่อาศัย

ลิฟต์และบันไดเลื่อน LIFTS AND ESCALATORS

หลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี

ลิฟต์และบันไดเลื่อนเป็นเครื่อง ตู้ลิฟต์วิ่งขึ้นลงโดยอาศัยสายเคเบิลหรือลวดสะลิงโยงขึ้นไปพาดรอกซึ่ง ติดอยู่ที่ด้านบนสุดของช่องลิฟต์ ปลายอีกข้างหนึ่งของสายเคเบิลยึดติดกับน้ำหนักลิฟต์และน้ำหนักถ่วง ซึ่งคอยถ่วงดุลน้ำหนักของตู้ลิฟต์บวกน้ำหนักผู้โดยสารลิฟต์ ทั้งตู้ลิฟต์และน้ำหนักถ่วงเคลื่อนที่ขึ้นลงตามรางที่ติดตั้งไว้ในช่องลิฟต์ มีมอเตอร์ไฟฟ้าช่วยหมุนรอก ซึ่งทำให้สายเคเบิลเคลื่อนที่และตู้ลิฟต์วิ่งขึ้นลงบริการผู้ใช้ลิฟต์ที่ ต้องการไปยังชั้นต่างๆ ของอาคาร สำหรับบันไดเลื่อนมองไม่เห็นการทำงานของรอกและน้ำหนักถ่วงชัดเจนเหมือนกับ เรื่องลิฟต์แต่บันไดเลื่อนก็ ทำงานของรอกและน้ำหนักถ่วงชัดเจนเหมือนกับเรื่องลิฟต์แต่บันไดเลื่อนก็ทำงานด้วยวิธีการเดียวกัน

เทคนิคการประหยัดพลังงานสำหรับลิฟต์

  1. การควบคุมความแปรผันของแรงดันไฟฟ้า โดยจำนวนผู้โดยสารในการใช้ลิฟต์จะสัมพันธ์กันกับกำลังมอเตอร์ไฟฟ้า ถ้ามีผู้ใช้น้อย แรงดันไฟฟ้าที่ใช้ก็จะต้องลดลงโดยอัตโนมัติ ผลลัพธ์ก็คือการได้ประหยัดการใช้พลังงาน
  2. การควบคุมความเร็ว ความเร็วของลิฟต์สามารถตั้งได้ตามระดับการใช้งานของลิฟต์ และตามความต้องการเพื่อป้องกันการอนุรักษ์พลังงานเมื่อลิฟต์ยังมีเพียงพอที่ จะให้บริการความเร็วของลิฟต์ จะปรับลดลงได้โดยวิธีการเปลี่ยนแปลงความถี่เพื่อลดพลังงานที่ใช้ ซึ่งทำได้โดยควบคุมความถี่ของมอเตอร์ไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
  3. การบริหารจำนวนลิฟต์ที่ใช้งานพิจารณาจากสภาวะปริมาณการขนส่ง โดยสามารถปรับความเร็วและจำนวนลิฟต์ที่ใช้บริการให้เหมาะกับสภาวะปริมาณการ ขนส่งและความต้องการ ใช้งานหลังจากได้ปรับความเร็วของลิฟต์แล้วโดยใช้เครื่องควบคุมความเร็วรอบ ถ้าจำนวนลิฟต์ยังมีเพียงพอกับการใช้งานก็สามารถลดจำนวนลิฟต์ที่ใช้อยู่เพื่อ ลดการใช้พลังงานได้

เทคนิคการประหยัดพลังงานสำหรับบันไดเลื่อน

  1. การทำงานแบบสตาร์ - เดลต้าจำนวน ผู้ใช้บันไดเลื่อนของแต่ละวันไม่แน่นอน การติดตั้งสวิตช์อัตโนมัติไว้ในระบบบันไดเลื่อนจะช่วยปรับพลังงานที่ใช้กับ มอเตอร์ไฟฟ้าที่เหมาะสม กับจำนวนผู้ใช้ การใช้ระบบด้วยสตาร์ - เดลต้า จะช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 30%
  2. การเปลี่ยนแปลงความถี่ตามภาระ ความเร็วของบันไดเลื่อนสามารถปรับให้เหมาะสมกับสภาวะใช้งาน เช่น การใช้งานปกติ (ความเร็ว 90%) ใช้งานสูงสุด (ความเร็ว 100%) ช่วงตรวจสอบ (ความเร็ว 50%) และช่วงความเร็วต่ำ (ความเร็ว 30%) ตัวตรวจจับและเปลี่ยนแปลงความถึ่จะทำงานสัมพันธ์กันและความเร็วของบันได เลื่อนก็จะเปลี่ยนแปลง โดยอัตโนมัติตามความต้องการ การใช้เครื่องเปลี่ยนแปลงความถี่เพื่อปรับความเร็วของบันไดเลื่อนนี้สามารถ ประหยัดพลังงานได้ถึง 60% และจะลดกระแสไฟสูงสุดถึง 80%
  3. การตัดกำลังไฟฟ้าโดยอัตโนมัติจากการที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ บันไดเลื่อนอย่างต่อเนื่อง ในบริเวณที่มีผู้ใช้น้อยสามารถนำระบบตัดกำลังไฟฟ้าอัตโนมัติมาใช้ได้เพื่อ ประหยัดพลังงานถ้าไม่มีผู้ใช้ ในระหว่างเวลานั้น บันไดเลื่อนจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ และจะเริ่มทำงานใหม่เมื่อมีผู้ใช้เดินผ่านสัญญาณตรวจจับ

ประโยชน์ของระบบควบคุมการประหยัดพลังงานลิฟต์และบันไดเลื่อน

  • สามารถลดการใช้พลังงานในส่วนที่ไม่จำเป็นของการใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนลงได้
  • สามารถใช้งานลิฟต์และบันไดเลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงาน
  • ลดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้กับระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน

เทคโนโลยีอํานวยความสะดวก

ความหมายของเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และ การบริการเทคโนโลยี
สิ่งอำนวยความสะดวก
เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นหรือดัดแปลงจากที่มีอยู่เดิม นำมาผลิตเป็นอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้พิการ ให้สามารถทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้แบบพึ่งพิงตัวเอง (Independent living) หรือพึ่งพิงผู้อื่นน้อยที่สุด และมีส่วนร่วมในสังคมได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึงการให้บริการ การประยุกต์ใช้และการนำไปปฏิบัติเพื่อลดอุปสรรคในการทำกิจกรรมของผู้พิการ

อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หมายถึง
              อุปกรณ์ต่างๆ ชิ้นส่วนของอุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งวางจำหน่ายทั่วไป ดัดแปลง หรือผลิตขึ้นมาเฉพาะบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มเติมดูแลรักษา หรือพัฒนาความสามารถในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้พิการที่ใช้อุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกนี้หมายรวมถึงเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน (Low Technology) ไปจนถึงเทคโนโลยีขั้นสูง (Hight Technoloty)

การบริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หมายถึง
การให้บริการใด ๆ ก็ตามที่ช่วยเหลือผู้พิการโดยตรงในการเลือกการจัดหา การหาความรู้ และการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกรวมไปถึง

๑. การตรวจประเมินถึงความต้องการจำเป็นของคนพิการแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึงการประเมินความสามารถหรือศักยภาพในการทำงานในสิ่งแวดล้อมเฉพาะของแต่ละบุคคล

๒. การซื้อ การเช่า หรือการจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่จำเป็นสำหรับคนพิการแต่ละบุคคล

๓. การเลือก การออกแบบ การผลิตอุปกรณ์เฉพาะบุคคล การปรับแต่ง และการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละบุคคล ตลอดจนการบำรุงรักษา การซ่อมแซม และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เหมาะสม

๔. การประสานงานและการหาความร่วมมือในการให้บริการอุปกรณ์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกกับผู้รักษา นักวิชาชีพ ผู้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น หรือบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

๕. การฝึกหรือให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการแต่ละบุคคล หรือครอบครัวของคนพิการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทั้งผู้ที่ให้บริการด้านการศึกษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพแก่คนพิการ นายจ้างหรือบุคคล อื่น ๆ ซึ่งทำหน้าที่การบริการ การจ้างงาน หรือเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตส่วนใหญ่ของคนพิการแต่ละบุคคล

สถาบันวิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Rehabilitation Engineering and Assistive Technology: REAT) เริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อว่า "โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี"  ต่อมาในวันที่ 15 สิงหาคม 2543 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.) จัดทำโครงการนำร่องโดยใช้ชื่อ "โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (Assistive Technology Center: ASTEC)" ซึ่งเป็นชื่อเรียกเดิมของ REAT ในช่วงเวลานั้น
โครงการดังกล่าวดำเนินการในรูปแบบของศูนย์วิจัยและพัฒนาที่มีเครือข่ายวิจัยครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างความเท่าเทียมในด้านโอกาสให้กับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสในการพึ่งพาและพัฒนาศักยภาพของตนเองในสังคม ตลอดจนดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสในประเทศ และเพื่อเป็นการลดการนำเข้าเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ จากต่างประเทศ
ต่อมาในช่วงปีงบประมาณ 2550 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการบริหารจัดการระดับ สวทช. ในรูปแบบ Strategic Planning Alliance (SPA) และการกำหนดโครงสร้างการดำเนินงานภายใน ศอ. ใหม่ เป็นผลทำให้ ASTEC มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานวิจัยโดยให้ความสำคัญครอบคลุมถึงกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น รวมทั้งมีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการภายใน และมีการเปลี่ยนชื่อของหน่วยวิจัยใหม่ในช่วงปีงบประมาณ 2552 มาเป็น REAT ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกหน่วยวิจัยดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน


วิสัยทัศน์

"ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก มุ่งมั่นที่จะวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกด้วยหลักการการออกแบบที่ครอบคลุม พร้อมทั้งผลักดันผลงานสู่ภาคอุตสาหกรรมด้วยความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่ายเพื่อให้การทำงานวิจัยและพัฒนามีความยั่งยืน มีการเผยแพร่ผลงานในเชิงพาณิชย์เพื่อคนพิการสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ด้วยความหวังว่าผลงานวิจัยที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการได้เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน"

เป้าหมาย/แนวทางการดำเนินงาน

REAT มีเป้าหมาย/แผนการดำเนินการวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุผ่านกระบวนการหลักคือ
  1. ผลักดันการขยายผลเชิงนโยบายร่วมกับภาครัฐส่วนอื่นๆ ผ่านการมีส่วนร่วมด้านการพัฒนากฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการและ เทคโนโลยี รวมถึงบริการการออกแบบ ทดสอบ และประเมินเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
  2. ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ผ่านการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนเพื่อตอบปัญหาเชิงสังคมอย่างยั่งยืน
  3. วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และสร้างองค์ความรู้ในรูปแบบทรัพย์สินทางปัญญา
  4. สร้างความตระหนักให้สังคมถึงความสำคัญของผู้พิการและผ้สูงอายุ และโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ และการเขียนบทความสาธารณะ

ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี

REAT ประกอบด้วย 3 กลุ่มวิจัยหลัก คือ
1. กลุ่มวิจัยวิศวกรรมระบบประสาทและระบบฟื้นฟูสมรรถภาพ (Neuroengineering and Rehabilitation Systems) ดำเนินการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมระบบประสาทและระบบฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ มุ่งเน้นการร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้าสู่ระบบบริการ และสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการ โดยกลุ่มมีแผนงานวิจัยหลักใน 3 ด้านคือ
  • ด้านการพื้นฟูสมรรถภาพทางพุทธิปัญญา (Cognitive Rehabilitation)
  • ด้านการพื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน (Auditory Rehabilitation)
  • ด้านการพื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพ (Physical Rehabilitation)
2. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) ดำเนินการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้สูงอายุและผู้พิการ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นการร่วมมือกับเครือข่ายพัฒนารูปแบบเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีโดยทั่วถึงและส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการให้บริการเชิงสังคม ซึ่งกลุ่มมีแผนงานวิจัยหลักใน 2 ด้านคือ
  • ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตอิสระ (Independent Living Technology)
  • ด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการศึกษา (Assistive Technology for Education)
3. กลุ่มวิจัยประยุกต์และบริการทดสอบและประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assessment Service and Applied Research in Assistive Technology) ยังมีภารกิจในด้านการวิจัยประยุกต์เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบ โปรแกรมหรือผลิตภัณฑ์เพื่อคนพิการ ซึ่งรวมถึงภารกิจในการจัดแสดง สาธิต และอบรมเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงให้บริการปรึกษาและประเมินการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ

ความเชี่ยวชาญของนักวิจัย

REAT มีทีมนักวิจัยที่มีประสบการณ์และมีความสนใจในด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ
  • วิศวกรรมระบบประสาทและระบบฟื้นฟูสมรรถภาพ (Neuroengineering and Rehabilitation Systems)
    • การออกแบบอัลกอริทึ่มและระบบประมวลสัญญาณดิจิตอล สำหรับเครื่องช่วยฟัง ซึ่งรวมไปถึงการทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
    • การออกแบบระบบไร้สายสำหรับอุปกรณ์ช่วยการได้ยิน
    • การใช้งานเทคโนโลยี brain computer interface เพื่อการช่วยการสื่อสาร และเพื่อการฟื้นฟูพุทธิปัญญา
    • การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและกายอุปกรณ์เทียม
  • เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology)
    • การพัฒนาซอฟแวร์สำหรับอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ โดยเฉพาะด้านการเรียนในเด็กที่มีความบกร่องด้านการเรียนรู้
    • การออกแบบระบบและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ multimodal inputs สำหรับการเฝ้าระวังผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
  • ประยุกต์และบริการทดสอบและประเมินเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assessment Service and Applied Research in Assistive Technology)
    • การวิจัยประยุกต์เพื่อบูรณาการเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบ โปรแกรมหรือผลิตภัณฑ์เพื่อคนพิการ
    • การวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแผนงานเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนคนพิการในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการดำเนินชีวิตประจำวัน
    • การวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านคนพิการ

เทคโนโลยีการสื่อสาร

เทคโนโลยีการสื่อสารความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร                   ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
                   เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
                   ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
                   ���ารสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับ
ข้อมูลหรือผู้รับสาร
                   จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ
                   เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
                   การสื่อสาร (Communication)  แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT  หรือ Information Technology  เท่านั้น
ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และ
สามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
                   การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน ได้แก่  ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และ
ผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย  และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  เทคโนโลยีการ สื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)
                   จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร
ของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการ
สารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การ
รวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้
สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหาร
และ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้าน
เศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคม
                   ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยี
ทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural
Technology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)
นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการ
อื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
                   1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)                   2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)                   3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)                   4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)                   บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร  โครงข่าย
โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้  เกิดสิ่งที่เรียกว่า  " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"   (DigitalRevolution)  ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองาน
กราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  คือสามารถอ่านและส่งผ่าน
ได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของ
ผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วย
ระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็น
สื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"
(Interactive)                   เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร
(Transfer of Information)”  เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือ
ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็น
เครือข่ายที่ติด���่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ
(Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่
ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ
ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี”
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)
ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติ
หรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่
เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่
เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ
พานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ
กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งป���ะดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วย
รับข้อมูลหรือผู้รับสาร
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ
ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี”
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)
ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติ
หรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่
เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่
เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ
พานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ
กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วย
รับข้อมูลหรือผู้รับสาร
ความหมายของเทคโนโลยี                                                                          ความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้ ‘เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก’

ความสำคัญของเทคโนโลยี เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่  ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรม  เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น  ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน  หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว  จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์  โทรคมนาคม  และข่าวสาร  (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว  สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง  ๆ ได้พร้อมกัน  สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ

ประโยชน์ของเทคโนโลยี-ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ แถมยังช่วยพัฒนาระบบอารายธรรมโดยทางอ้อมอีกด้วย
เรื่องราวจากการเริ่มต้นเทคโนโลยี ยาวนานจนบัดนี้ทำให้มนุษย์เราแทบไม่สามารถแยกจากเทคโนโลยีไปได้แล้ว
-ช่วยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายขึ้น
-ช่วยให้เราทันสมัย
-ช่วยประหยัดเวลา
-ช่วยในการทำงาน

บทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

การสื่อสาร ความหมายของการสื่อสาร             คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   การสื่อสาร (communication)    หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

  ความสำคัญของการสื่อสาร             มนุษย์เป็นสัตว์ สังคมที่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่  เพื่อให้สามารถช่วยกันต่อสู้กับศัตรูได้ง่ายขึ้น มนุษย์จึงต้องใช้การสื่อสารเพื่อถ่านทอดความรู้และความคิดระหว่างกันเพื่อสร้างความเข้าใจและร่วมมือกันในการแก้ปัญหา หรือการทำงานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปอาจด้วยการพูด  การเขียน  เป็นต้น  การสื่อสารอาจอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งต่อมามีการขยายออกไปสื่อสารกับกลุ่มอื่นๆ ที่คุ้นเคยหรือเคยเป็นกลุ่มเดียวกันมาก่อน

ประโยชน์ของการสื่อสาร 
            การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 
            ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูลหากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนักฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
            ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณของไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
            ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

หน้าที่ของการสื่อสาร
1.ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มนุษย์ต้องใช้ภาษาพูดจาสื่อสารกับคนที่อยู่รอบข้างเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด ความต้องการ เพื่อบอกเล่าไต่ถามความรู้และอื่น ๆ
2. ภาษาเป็นพลังในการรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในสังคม ภาษามีบทบาทสำคัญที่ทำให้คนในชาติ ซึ่งพูดภาษาเดียวกันมีความผูกพันต่อกัน มีความสำนึกในเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
3. ภาษาเป็นภาพสะท้อนความเจริญทางสังคม ภาษาประจำชาติที่ใช้สืบต่อถ่ายทอดกันมานั้นจะผูกพันกับสังคมของผู้ใช้ภาษาอย่างใกล้ชิด คำศัพท์ที่มีในภาษาจะแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ อาหารการกิน ความเชื่อ ทรัพยากรธรรมชาติ ฯลฯ ของสังคมนั้น ความเจริญก้าวหน้าของสังคมย่อมมีผลต่อภาษาด้วย ดังนั้นภาษาจึงเป็นหลักฐานแสดงอารยธรรมต่าง ๆ ของสังคม เช่น ศิลปะ ศาสนา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
4. ภาษาเป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม โดยที่ภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่กำหนดเพื่อแสดงความรู้สึกนึกคิด และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ก็เป็นผลิตผลของวัฒนธรรมหรือแบบแผนชีวิตของสังคมมนุษย์ ดังนั้น ภาษาย่อมจะแสดงความรู้สึกนึกคิด ทัศนะ และค่านิยมทางสังคมไว้ไม่มากก็น้อย
5. ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาลเทศะ ประเภทของเรื่อง ฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
ด้วยเหตุนี้ หากต้องการเข้าใจวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาใด ก็อาจใช้ภาษานั้นเป็นข้อมูลเพื่อสืบกันได้ และในทางตรงกันข้าม หากเราไม่เข้าใจความหมายของถ้อยคำในภาษาใดอย่างชัดเจน ก็อาจศึกษาวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษานั้น เพื่อหาความรู้ว่าทำไมเขาจึงพูดหรือใช้คำนั้นได้เช่นเดียวกัน

สรุป เทคโนโลยีการสื่อสารคือ            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้เราหันมาให้ความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทำให้เราสามารถติดต่อเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอินเทอร์เน็ต หรือด้านการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมในระยะไกลต่าง ๆ   ก่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลมาใช้ในวงการธุรกิจต่าง ๆ   เป็นการนำความรู้จากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาสร้างทางเลือกในการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ส่งผลให้เราสามารถลดต้นทุน ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารส่งเสริมให้เกิดการใช้งานทรัพยากรร่วมกัน  ซึ่งเหมาะกับสภาพขององค์กรในปัจจุบันที่ต้องการการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง
             จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล  ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล  ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน  อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว  รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ   นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ   ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
1.1 องค์ประกอบพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล
               องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดงดังรูปที่ 1
                                         
รูปที่ 1 องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
               2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
               3.  ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
                    - ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
                    - เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
                     - รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
                     - สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
               5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน